Home ข้อคิดสอนใจ ลักษณะหัวหน้า “ไม่มีวุฒิภาวะ” ยากที่ลูกน้องจะยอมรับได้

ลักษณะหัวหน้า “ไม่มีวุฒิภาวะ” ยากที่ลูกน้องจะยอมรับได้

7 second read
0
0
88

1. ยังไงก็ได้ ไม่มีความเห็น (ไม่มีความเป็นผู้นำ)

หัวหน้าไม่มีภาวะผู้นำ จะเป็นคนที่คล้อยตามความคิดเห็นของทุกคน ใครจะเสนออะไร หรือต้องการการตัดสินใจ จะไม่สามารถให้คำตอบได้อย่างชัดเจน เน้นความคลุมเครือ พูดจาเหลาะแหละ ทีเล่นทีจริง

ไม่ปกป้องหรือให้เหตุผลสนับสนุนลูกน้อง ในกรณีเสนองานในที่ประชุมหรือติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ โดยการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล

มั่นใจในความสามารถของทีมและของตนเอง แสดงความเป็นผู้นำ เพื่อให้ลูกน้องได้เห็นความสามารถและศักยภาพในการทำงานของคุณ แม้จะต้องใช้เวลา แต่รับรองไม่นานคุณจะต้องได้รับการยอมรับอย่างแน่นอน

2. หูเบา เข้าข้างพวกเดียวกัน (ไม่ยุติธรรม)

หัวหน้าที่ไม่มีความยุติธรรม จะทำให้ลูกน้องมีอคติกับตัวหัวหน้า ไม่ให้ความเคารพนับถือ เนื่องจากพฤติกรรมความไม่ยุติธรรมทั้งในเรื่องความลำเอียง การเล่นพรรคเล่นพวก การเอาแต่ใจตนเอง โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา จนทำให้คนทั่วไปมองเห็นว่าเป็นคนสองมาตรฐาน เหล่านี้ มีผลต่อการทำงานในตำแหน่งหัวหน้าทั้งสิ้น

ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมตั้งแต่ในเรื่องการแยกแยะอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว กับงานออกจากกัน และพย าย ามใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินปัญหา อย่าใช้อารมณ์เป็นตัวนำ ให้มองเห็นความสำคัญของงานเป็นที่ตั้ง ไม่ให้ความสำคัญกับพนักงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป จนทำให้เกิดความเอนเอียงไม่ยุติธรรม

3. มนุษย์ปัดความรับผิดชอบ ปัดความผิด (ไม่มีความรับผิดชอบ)

หัวหน้าประเภทเอาดีเข้าตัว ปัญหาหรือความผิดปัดให้คนอื่นรับผิดชอบ เช่น “ฝ่ายเราไม่ได้ทำ น่าจะผิดมาจากฝ่ายอื่น” หรือ “ลูกน้องคนนี้ไม่ได้เรื่องทำงานผิดพลาดตลอด”

เป็นต้น หัวหน้าที่ดีควรจะรับผิดและรับชอบในทุกเหตุการณ์เพราะถือว่าคุณเป็นผู้ดูแลงานและสั่งการณ์ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำ ดังนั้นหากเกิดความผิดพลาดใด ๆ ก็ตาม ทั้งที่อาจจะเกิดจากคุณหรือลูกน้อง ซึ่งทำให้งานเสียหาย คุณก็ย่อมต้องแสดงความรับผิดชอบ เพราะถือเป็นหน้าที่ของคุณ ไม่ใช่โยนความผิดไปให้คนอื่น เพื่อเอาตัวรอดไป

4. วางแผนงาน..ง้ายง่าย ใครเสนอชั้นเออออ (วางแผนงานไม่เป็น)

หัวหน้าประเภทเออออ ว่าอะไรว่าตาม ไม่ว่าจะประชุมเล็กหรือใหญ่ ใครเสนออะไร ก็เห็นด้วย คิดเหมือนกันเลย ที่คิดมาก็ประมาณนั้น พฤติกรรมเหล่านี้แสดงถึงความไม่มืออาชีพเอาซะเลย

ในการประชุมวางแผนงาน หากต้องการให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานเชื่อมั่นในการทำงาน ควรจะวางแผนงานมาล่วงหน้า จากประสบการณ์การทำงานที่มีบวกกับไอเดียใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอให้ทุกคนเห็นความสามารถที่แท้จริงของคุณ

5. ปัญหามา หายหน้าตลอด (แก้ปัญหาไม่เป็น)

หัวหน้าประเภทหลบหน้า หลบตา เมื่อเกิดปัญหาก็รอให้ลูกน้องรับหน้ากันไป หัวหน้าประเภทนี้อาจจะมีความสามารถในการทำงานด้านต่าง ๆ ดี แต่อาจจะไม่พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหา

เพราะอาจจะไม่มั่นใจในตัวเอง กลัวผิด ไม่กล้าแก้ปัญหา หรือกลัวว่าใครจะมองว่าเป็นการทำงานที่ผิดพลาดของตนเอง ทางที่ถูก ควรจะเปลี่ยนมุมมองในการเผชิญปัญหา

ว่าคุณมีประสบการณ์ในงานเหล่านั้นมากพอ ที่จะทำให้ผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี อาจจะเริ่มต้นจากการแก้ปัญหาเล็กน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ เข้าไปช่วยแก้ปัญหาที่ใหญ่ขึ้น แล้วความมั่นใจจะตามมา ช่วยพัฒนาฝีมือได้ดียิ่งขึ้น

6. งานไหนได้หน้า นางขอมาพรีเซนต์ (ทำงานเอาหน้า)

มีหัวหน้าประเภทหน้าที่หลักคือการฉก ฉวย และโชว์ผลงาน เป็นพฤติกรรมอีกอย่างที่ลูกน้องเห็นพ้องต้องกันว่าควรร้องยี้ แม้ว่างานที่ทำจะเป็นงานภายใต้การสั่งงานของหัวหน้า

แต่ก็ควรให้เกียรติผู้ที่ผลิตผลงาน ให้ได้นำเสนอผลงานของตนเอง โดยมีหัวหน้าเป็น back up คอยให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่แ ย่งงานไปเสนอแล้วรับเป็นความดีความชอบของตนเองแบบไม่ให้เครดิตใคร

7. ไม่ฟังใคร ชั้นใหญ่สุด (ใช้อำนาจผิดวิธี)

ตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น มักจะมากับอำนาจที่มากขึ้น หัวหน้าบางคนมีนิสัยที่เปลี่ยนไปหลังได้เลื่อนตำแหน่ง เช่น ถือเ นื้ อถือตัว เจ้ายศเจ้าอย่าง ดูถูกเพื่อนร่วมงาน ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหง

พูดจาใหญ่โตไร้มารย าท ไม่ให้เกียรติลูกน้อง พฤติกรรมเหล่านี้ควรพิจารณา แม้ว่าตำแหน่งจะสูงขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้อำนาจข่มเหงลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน

ยิ่งตำแหน่งสูงมากยิ่งต้องระมัดระวังการแสดงออกต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพราะมีคนจำนวนมากกำลังจ้องมองมาที่คุณ เค้าจะรักจะเคารพ หรือให้เกียรติคุณหรือไม่ก็อยู่ที่คุณแสดงออกกับพวกเค้าอย่างไร

นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมยี้ ๆ อีกหลายอย่างที่ควรระวัง เช่น มนุษย์เต่า ชอบเข้าไปอยู่แต่ใน comfort zone ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่ทำอะไรในรูปแบบใหม่ ๆ หรือหัวหน้าประเภท แบ่งชนชั้น หย าบคาย

ไร้มารย าท ชอบจับผิด ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว พฤติกรรมเหล่านี้ มีทางแก้ไข หากคุณใส่ใจและ focus ตรงจุดเฉพาะงาน และให้เกียรติทุกคนในฐานะพนักงานเหมือนกัน ตำแหน่งหัวหน้างาน

ก็จะเป็นตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับจากลูกน้องแบบทุ่มกายถวายใจเพื่อคุณอย่างแน่นอน หมั่นสำรวจตัวเองดูว่า คุณเป็นหัวหน้าแบบไหน ได้รับการยอมรับจากคนที่ต้องร่วมงานกับคุณอยู่หรือเปล่า ขอให้คุณเป็นหัวหน้าที่ดี ที่ใคร ๆ ก็เต็มใจร่วมงานด้วยนะคะ

ที่มา : j o b s d b

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…