
1.บอกเหตุผลสักหน่อย
“แก ๆ พรุ่งนี้ไปหาอะไรกินในเมืองกันมั้ย?” “ไม่ไปจ้า”
เป็นไงคะ ถ้าเจอคำตอบแบบนี้เข้าไป อึ้งกิมกี่ไปเลยใช่มั้ยคะ เพราะคนถามก็คง
จะคาดหวังว่าคุณจะบอกเหตุผลสักนิดหน่อยก็ยังดี อย่างติดธุระ หรือไม่ว่าง
แค่นั้นก็เข้าใจได้แล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ยืดย า ว ลงลึกทุกดีเทล แบบนั้นก็จะเกินไปหน่อย
2.เสนอทางเลือกอื่น
นี่อาจจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เช่น ถ้าคุณไม่ว่างไปเจอเพื่อนที่นัดกันคืนนี้ที่ร้านเจ๊แต๋ว
คุณก็อาจจะเสนอไปว่าถ้าเป็นเส า ร์ หน้าไปได้แน่นอน อะไรประมาณนั้น
จะทำให้คนฟังรู้สึกว่าคุณไม่ได้ไม่อย า กปฏิเสธ แต่คุณไม่ว่าง หรือไม่สะดวกจริง ๆ
แต่สิ่งสำคัญคือ ไม่ใช่ว่าพูด ๆ ไปงั้น เพราะรู้สึกผิด
3.แสดงความเห็นอกเห็นใจ
ถ้ามีคนมาขอให้ช่วย แต่เราไม่สามารถช่วยได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร พย า ย า มแสดงให้เขาเห็นว่าเรามีความรู้สึกร่วมไปกับเขา พูดให้เขารู้ว่าเราเข้าใจว่าเขากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย า กลำบาก อาจจะฟังดูเหมือนการเสแสร้ง แต่เป็นวิธีที่จะทำให้คนฟังรู้สึกดีถึงแม้ว่าคุณจะปฏิเสธเขาก็ตาม
4.ลูบหลังแล้วตบหัว
ถ้ามีคนมาขอให้ช่วยทำอะไร หรือชวนไปไหน แต่เราไม่สะดวก ขอเรียกวิธีนี้ว่า ลูบหลังแล้วตบหัว
พย า ย า มหาคำพูดที่จะทำให้เขารู้สึกดีมาเสริมเข้าไปก่อน อย่างเช่น “ขอบคุณที่นึกถึงเรานะ
แต่…” หรือจะเป็น “อย า กไปมากเลย แต่…” เชื่อว่าคนฟังจะรู้สึกดีกว่า เราพูดแค่ ไม่เอา ไม่ไป ไม่ทำ ไม่ ๆๆๆๆ แน่นอนค่ะ
5.ปฏิเสธให้เป็น
สำหรับใครที่ปฏิเสธคนไม่เป็น ใครมาขออะไรให้หมด ใครให้ช่วยอะไรทำหมด ใครชวนไปไหนไปหมด
จะใช้ชีวิตแบบนี้ไปตลอดมันก็ดูจะเหนื่อยเกินไปหน่อย ต่อไปนี้ลองฝึกดูสิ
เริ่มจากปฏิเสธคนไม่รู้จัก หรือคนที่ไม่สนิทก่อนเลย รับรองว่าช่วยได้แน่นอน
6.ห้ามใจอ่อน
บางคนก็ดื้อด้านซะเหลือเกิน เหมือนเด็กเอาแต่ใจ อย า กได้อะไรต้องได้ ปฏิเสธไปแล้วก็ยัง
ไม่ยอม แต่ส่วนใหญ่แบบนี้มักจะเป็นคนใกล้ชิด หรือเพื่อนสนิท ทางที่ดีเราต้อง
ไม่ใจอ่อนเด็ดขาด เพราะถ้าเรายอมตลอด เค้าก็จะได้ใจ แล้วคราวหน้าก็จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกแน่ ๆ
ที่มา : lifestyle.campus