
1. แบ่งสรรปันส่วน
เมื่อเงินเดือนออกให้แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เช่น เงินเก็บ ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
ค่ากิน และอาจจะมีเงินสำหรับยาม ฉุ ก เ ฉิ น ด้วยก็ได้ ส่วนที่เหลืออีกเล็กน้อยก็เก็บไว้ช็อปปิ้ง
การแบ่งเงินเป็นก้อนๆ แบบนี้ทำให้มีวินัยในการใช้เงิน รู้คุณค่าของเงินที่หามาได้
2. ทำบัญชี
วิธีนี้จะทำให้รู้ว่าแต่ละวัน แต่ละเดือนเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง อะไรคือสิ่งจำเป็น
ไม่จำเป็น และถ้าเดือนนี้ใช้เยอะก็จะทำให้รู้ว่าเดือนหน้าจำเป็นต้องลดการใช้เงินลง
การจดบัญชีรายรับรายจ่ายทำให้มองเห็นภาพชัดเจน แม้จะยุ่งยากที่ต้องมานั่งจดนั่งเขียนทุกวัน
แต่ถ้าทำไปนานเข้าก็จะเป็นนิสัย และมีระเบียบวินัยในการใช้เงิน
3. คิดให้รอบคอบก่อนใช้
โดยเฉพาะพนักงานกินเงินเดือนเมื่อเงินเดือนออกก็ตระเวนเที่ยว กิน ช็อป
เมื่อ ซื้ อ จนเงินสดไม่พอก็รูด บั ต ร เ ค ร ดิ ต
ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ซื้ อ ไม่คิด
รับรองว่าไม่มีเงินเก็บแน่นอน และยังต้องมานั่ง ป ว ด หัวเพราะหนี้ บั ต ร เ ค ร ดิ ต อีกด้วย
ดังนั้นถ้าอยากสบายตอนแก่ มีเงินเก็บก็จงเริ่มนิสัยเก็บออมตั้งแต่วันนี้
โดยเฉพาะวัยเริ่มทำงานสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องออมกันตั้งแต่เนิ่นๆ
4. งานอดิเรกก็สร้างเงิน
งานอดิเรกบางอย่างอาจเพิ่มรายได้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ ต้นไม้
ปลาสวยงาม ทำเบเกอรี่ เครื่องดื่ม สุ ข ภ า พ งานประดิดประดอย
ซึ่งสมัยนี้ช่องทางการขายนำเสนอสินค้าก็มีมากมาย
เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เว็บไซต์ ขายตามตลาดนัด หรือถ้ามั่นใจในฝีมือ
และมีทุนทรัพย์หน่อยก็เปิดเป็นร้านก็ได้ เผลอๆ
ทำดีมีลูกค้าเยอะ รายได้อาจงามกว่างานประจำก็ได้
5. ให้เงินทำงาน
ในปัจจุบันมีวิธีที่จะนำเงินที่มีไปเพิ่มมูลค่าหรือไป ล ง ทุ น มากมาย
เช่น สลากออมสิน หุ้น กองทุน พันธบัตรรัฐบาล
เพียงแต่การจะเลือก ล ง ทุ น แต่ละอย่างก็ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อน
ที่มา : p o s t t o d a y