Home ข้อคิดสอนใจ 5 พฤติกรรมบอกว่า หัวหน้าคนนี้ “ไม่มีวุฒิภาวะ”

5 พฤติกรรมบอกว่า หัวหน้าคนนี้ “ไม่มีวุฒิภาวะ”

8 second read
0
0
73

5 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากเป็นผู้นำที่ขาดวุฒิภาวะ

วุฒิภาวะ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะอยู่ในสถาะไหนก็ควรมีติดตัวเอาไว้เสมอ เพราะถ้าวันหนึ่ง

คุณได้ขึ้นเป็นผู้นำ จะทำให้คุณบริหารคนได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม

หากคุณอยากเป็นผู้นำที่ลูกน้องเคารพและเชื่อมั่น

ต้องปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างด้วยพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสม

แสดงวุฒิภาวะของการเป็นผู้นำออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือที่สุด

มีความฉลาดทางความคิดและอารมณ์ ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด ข่ มเ ห ง ผู้ที่ด้อยกว่า

จะช่วยให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาพร้อมใจกัน อยากทำงานออกมาจากใจ

ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ การเป็นผู้นำนั้นต้องสร้างความสามัคคี

ไม่ใช่ความแตกแยกเพื่อสะท้อนสะภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำที่ดี

แต่ถ้าเราแสดงออกด้วยพฤติกรรมทั้ง 5 แบบเหล่านี้ละก็

นอกจากจะไม่มีใคร อยากร่วมงานด้วยแล้ว ยังทำให้เสียลูกน้องดี ๆ ไปแบบไม่ทันได้ตั้งตัว

1. ปิดใจไม่ยอมรับฟังลูกน้อง

การเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ใช่เรื่องน่าเสียหาย สำหรับการเป็นผู้นำครับ

แม้เราจะต้องเดินนำคนอื่นอยู่ข้างหน้า แต่การหยุดพัก ฟังเสียงคนรอบข้างเสียหน่อย

จะช่วยให้เราได้ไอเดียดี ๆ ในการทำงานมากอีกมาย

โดยเฉพาะลูกน้องของเราที่ได้ลงไปสัมผัสกับชิ้นงาน ทำให้พวกเขารู้ดีที่สุดว่าปัญหาของงานนั้นคืออะไร

จะได้ช่วยกันหาทางแก้ได้อย่างถูกจุดที่สุดการมีลูกน้อง

เป็นเพื่อนคู่คิดเหมือนได้ลาภอันประเสริฐ เพราะอย่างน้อยก็ดีกว่าการแก้ไขปัญหาคนเดียวครับ

2.พูดคำไม่สุภาพกับลูกน้อง

การสื่อ ส า ร เป็นทักษะสำคัญ สำหรับคนทำงาน แต่ต้องมาพร้อมกับการสื่อส า รที่ดี ไม่ ทำ ร้ า ย คนฟัง

ไม่ว่าเราจะอยู่ลำดับไหนด้วยเช่นกันครับ ดังนั้นการเป็นผู้นำที่ดีต้องมีสติในการสื่อ ส า ร เสมอ

รวมไปถึงความฉลาดทางอารมณ์ที่ต้องใช้เหตุผลและคำพูดที่ดีไม่ ทำ ร้ า ย จิตใจใคร

จำไว้เสมอว่าคำพูดที่เราพูดออกไปแล้ว นั้นไม่สามารถนำกลับมาได้คำพูดส่งผลต่อพฤติกรรมของคนฟังเช่นกันครับ

ถ้าเราใช้คำพูด ร้ า ย ๆ หรือวิพากษ์วิจารณ์ลูกน้อง ต่อหน้าคนอื่นในบริษัท

จะส่งผลให้เขาเสียความมั่นใจและเสียบรรยากาศในการทำงาน กลับกันถ้าเราใช้คำพูดที่ดีใจเย็นมีเหตุผล

จะช่วยให้ลูกน้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น เพราะรับรู้ว่าหัวหน้ายังรับฟังเขาอยู่เสมอ

3.โยนความผิดให้ลูกน้อง

นับว่าเป็นเรื่อง ร้ า ย แ ร ง สำหรับความสัมพันธ์ ของคนในทีม เมื่อหัวหน้าถูกตำหนิจากเบื้องบน

หรือผู้บริหารและนำความ เ ค รี ย ด นั้นมาลงกับลูกน้องด้วยการโยน

ความผิดให้คนอื่นนั้นอาจส่งผลไปถึงความแตกแยกได้เช่นกัน

ไม่ว่าความผิด นั้นจะมาจากใคร สิ่งแรกที่ควรทำคือช่วยกันคิดเพื่อหาทางแก้

ดีกว่าหาตัวคนผิด นอกจากเสียเวลาแล้ว ยัง บั่ น ท อ น จิตใจคนทำงานด้วยครับ

ฉะนั้น หัวหน้าอย่างเราควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้องว่าทุกปัญหาย่อมมีทางแก้เสมอ

4.ไล่บี้งานลูกน้อง

การมอบหมายงานทุกครั้ง ต้องมาพร้อมกับความชัดเจน ในการส่งงาน เพื่อให้พนักงานสามารถ

จัดสรรเวลาการทำงานของตัวเองได้ง่ายขึ้น เพื่อที่จะส่งงานได้ตามกำหนด

แม้หัวหน้าจะมีสิทธิ์ในการทวงถามงาน แต่หากยังไม่ถึงกำหนดส่ง ก็ไม่ควรไล่บี้จนลูกน้องเกิดความกังวล

และทำงานรน ๆ จนเกิดข้อผิดพลาดถ้าต้องการงานชิ้นนั้นอย่างเร่งด่วนจริง

แต่ลูกน้องยังไม่ส่งมอบงานก็ลองไถ่ถามลูกน้องถึงปัญหาในการทำงาน

ด้วยความใจเย็น เผื่อว่าเราจะมีส่วนช่วยในการให้ลูกน้องทำงานได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

5. ไม่พัฒนาลูกน้อง

การจะปกครอง คนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการไม่หวงความรู้ครับ

เพราะการถ่ายทอด ความรู้ให้กับคนในทีม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการทำงานต่อไปได้อย่างดีที่สุด

เพราะหัวหน้าสามารถใช้ทักษะ และประสบการณ์ที่มีบอกต่อได้อย่างน่าเชื่อถือ

ถ้าปล่อยปะละเลย ไม่สนว่าลูกน้องเรียนรู้ไปถึงไหน ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ในทีม แ ย่ ลงกว่าเดิมไปอีก

ถ้าหัวหน้าสามารถทำให้ลูกน้องของเราเก่งขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ลูกน้องมีความสามารถ

ในการรับผิดชอบต่องานได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น เปิดทางให้ลูกน้องเข้ามาสื่อ ส า ร สอบถาม

และขอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนมุมมอง การทำงาน เชื่อผมสิครับ

ว่าจะเป็นทีมที่แข็งแกร่งมากอย่างแน่นอนมุมมองเหล่านี้สะท้อนการขาดภาวะการเป็นผู้นำได้เป็นอย่างดี

แต่ถ้าเราแก้ไขให้เป็นไปในทางที่ดีได้นั้นการบริหารงาน และบริหารคนจะเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าเดิม

ลูกน้องเองก็จะให้เกียรติและให้ใจในการทำงานกับเราแน่นอน

ที่มา : h a p p y w o r k a p p

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…