
1. คุณไม่ได้ทำงานเพื่อเงินแต่เพียงอย่างเดียว
เงินเป็นเพียงปัจจัยหลักที่สามารถ ซื้ อ “หลายสิ่ง” ได้ แต่สำหรับมิตรภาพ, ความเก่งกาจ,
ความฉลาด ฯลฯ อะไรก็ตามที่เป็นนามธรรม ที่คุณได้รับจากองค์กรไปตั้งแต่วันแรก และ
ความรู้สึกในชีวิตส่วนตัวมัน ซื้ อ ไม่ได้หรอกถ้าคุณคิดว่าการทำงานมีเป้าหมายก็เพื่อเงิน
คิดแต่ว่าทำยังไงก็ได้เพื่อให้ได้เงินเยอะ ๆ เช่น พ ย า ย า ม ทำโอทีมาก ๆ หรือไม่ก็
เช้าชามเย็นชาม ทำงานไปงั้น ๆ เพราะรู้ว่าเดี๋ยวเงินเดือนก็ออกเอง มันก็ไม่แปลกที่คุณ
จะรู้สึกว่าฝืน ไม่มีความสุข ไม่มีความก้าวหน้า … ก็ในเมื่อคุณเลือกเองที่จะมีเป้าหมาย
ของการทำงานไม่กี่อย่างคิดดูให้ดี นอกจากเงินเดือน คุณได้อะไร หวังอะไรจากที่
ทำงานไปบ้าง? มิตรภาพ? ความก้าวหน้า? ทักษะความสามารถ? ความสนุก? สังคม?
ยิ่งคิดให้กว้างเท่าไหร่ คุณจะยิ่งหายใจได้สะดวกขึ้น โล่งขึ้น รู้สึกได้ว่า
“การมาทำงานไม่ใช่เรื่องที่ต้องฝืนทน” มันต้องมีอะไรมากกว่าเงินสิ !
2. เงินเดือนได้เท่าไหร่ไม่สำคัญเท่ากับ “จ่ายไปเท่าไหร่”
เงินเดือนหลักแสนหลักหมื่นก็มีสิทธิจนได้ในพริบตา หากยังไม่รู้จักประมาณตน
ไม่ลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่ายว่า “ควรหรือไม่ควรจ่ายในเรื่องอะไร”
การบริหารรายรับรายจ่ายเท่านั้นที่จะบ่งบอกได้ว่าคนนั้นรวยจริงรึเปล่า
(มีเงินเก็บรึเปล่า?) ไม่ใช่ดูกันเพียงสเตทเม้นท์แต่เพียงผิวเผิน
3. นอกจากเรื่องงาน เราไม่จำเป็นต้องแข่งเรื่องอื่นกับเพื่อนร่วมงาน
รสนิยมเป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้ และไม่มีใครบอกด้วยว่าแบบไหนผิด
แบบไหนถูก เพราะความชอบของคนเราไม่เหมือนกัน อย่าตกกับดักสังคม
ด้วยวิธี “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” คนอื่นอัพเกรดตัวเองยังไงก็ช่าง กินหรู
จ่ายแพงยังไงก็เรื่องของเขา เราจงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่เป็นอันพอแล้ว
4. ควรใช้เงินเพื่อความสุขของปัจจุบันและอนาคต
หักลบกลบหนี้รายเดือนแล้ว คุณควรให้รางวัลตัวเองเป็นอะไรก็ได้ เช่น
ตั๋วหนัง, หนังสือ, ทริปต่างจังหวัด, การเข้าสังคม เพื่อผ่อนคลายและ
พัฒนาตัวเองไปพร้อม ๆ กัน อย่ากักขังตัวเองเพียงแค่การทำงานมา
หักลบค่าใช้จ่ายรายเดือนเพียงอย่างเดียว ไม่อย่างนั้นคุณจะรู้สึกว่างาน
ที่ทำอยู่มันกดดันสูง ไม่มีความสุข ท ร ม า น เพราะไม่รู้ว่าจะออกไปเลยดีมั้ย
แต่กระนั้นก็ตาม อย่าลืมเจียดบางส่วนไว้เป็น “เงินออม” หรือ
“เงินสำหรับอนาคต” เพื่อไม่ให้ตัวเปล่าเล่าเปลือยเกินไป หากเกิดอะไร
ฉุ ก เ ฉิ น ขึ้นในวันข้างหน้า คุณจะได้ไม่กิน เ นื้ อ ตัวเองมาก อุ่นใจกับความ
เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ดี
5. อย่าเอาชีวิตตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนสายงานอื่น
ทุกสายงานล้วนแต่มีความยากง่ายปะปนกันไปเท่า ๆ กัน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ
“มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย” เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเจ้าของกิจการ, อาชีพอิสระ,
มนุษย์เงินเดือน ไม่มีใครได้เปรียบกว่าใคร ไม่มีใครเหนือกว่าใคร สิ่งที่เราควร
ทำเมื่อต้องพบปะกับเพื่อนต่างสายงานก็คือ ยินดีเมื่อเขาประสบความสำเร็จ
คอยช่วยเหลือกันเมื่อใครก็ตามเดือดร้อน เพราะความเป็นมิตร มันยั่งยืนและ
สวยงามกว่าการตั้งป้อมเป็นคู่แข่งกันเสมอ
6. อย่าเพิ่งเปลี่ยนเส้นทาง หากว่ายังไม่เต็มที่ในทางที่กำลังเดินอยู่
ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตามที่ทำให้รู้สึกอยากลาออกหรือเปลี่ยนสายงาน ลองทบทวน
ตัวเองอีกครั้งว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรอย่างเต็มความสามารถแล้วหรือยัง หรือ
ที่จะลาออกนั้นเป็นเพียงเพราะอารมณ์ ชั่ ว วู บ เพียงเท่านั้น? ถ้ายัง ลอง
เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ตั้งใจลุยอีกสักตั้ง อย่างน้อยมันก็ยังดีกว่าออกไป
ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่า ”รู้งี้ ฉัน… ดีกว่า” ซึ่งมันน่าเสียดาย น่ า เ จ็ บ ใ จ กว่าเยอะนะ
7. รู้จักเป็นคนยืดหยุ่นบ้าง
ไม่มีอะไรมั่นคงแน่นอนดั่งใจหวังเสมอไป ใครจะไปรู้ว่างานที่ทำอยู่อาจจะ
โดนตำหนิ มีเพื่อนร่วมงานไม่ชอบใจ หรือ ร้ า ย แ ร ง ถึงขั้นต้องถูกเชิญให้ออก
ดังนั้น นอกจากคิดในแง่บวก คุณต้องคิดแต่ละเรื่องให้รอบด้านมาก ๆ
เพื่อที่เกิดปัญหาขึ้นมาจริง ๆ คุณจะได้ เ ค รี ย ด น้อยลง มีสติมากขึ้น
“ก็มันเกิดขึ้นแล้วไงล่ะ? ฉันจัดการได้!”
คาดหวังให้น้อย เปรียบเทียบให้น้อย วางแผนให้เป็น ความสุขเราจะอยู่ในระดับที่
ไม่ไกลเกินเอื้อมและไม่สั้นเกินไป ชีวิตง่าย ๆ ชิล ๆ สโลว์ไลฟ์ ใครว่าเป็นเฉพาะ
เจ้าของกิจการหรือฟรีแลนซ์ล่ะ? มนุษย์เงินเดือนก็เป็นได้
ขอขอบคุณ jeeb