Home ข้อคิดสอนใจ วิธีรับมือ “ลูกน้องขี้ประจบ” หัวหน้าควรอ่าน

วิธีรับมือ “ลูกน้องขี้ประจบ” หัวหน้าควรอ่าน

4 second read
0
0
235

เคยมีลูกน้องมาประจบประแจง และเอาอกเอาใจอย่างออกนอกหน้าหรือไม่ครับ เช่น พูดจาเห็นด้วยไปทุกเรื่อง ซื้อของมาฝาก พยายามที่จะช่วยในเรื่องส่วนตัวของนาย เช่น ชงกาแฟ ถือกระเป๋า จัดโต๊ะ จัดดอกไม้ ซื้อข้าวกลางวันให้ มีของมาฝากแบบเกินปกติ ฯลฯ

ปกติหัวหน้าจะรับมือกับลูกน้องที่มีพฤติกรรมประจบประแจงอย่างไรดี ผมเชื่อว่าหัวหน้างาน และผู้จัดการหลายท่านที่ อ่ า น บทความนี้ก็น่าจะเคยประสบพบเจอกันมาบ้าง เวลาที่มีลูกน้องเข้ามาทำทีประจบสอพลอ เราจะทำอย่างไร

คำว่าประจบประแจงนั้น ก็คือ การที่เข้ามาทำดีเกินหน้าเกินตากับเรา หรือเข้ามาทำดีเพื่อหวังผลอะไรบางอย่างจากเรา โดยเฉพาะจะทำให้หัวหน้าเห็นความสำคัญของตนเองให้ได้ กลัวว่าหัวหน้าจะไม่เห็น ก็เลยต้องเล่นลูกประจบกันซักหน่อย เพื่อให้หัวหน้าจะได้เหลือบมามอง หรือเห็นความสำคัญของตนเอง

พฤติกรรมของหัวหน้าที่มีต่อการประจบประแจงของพนักงาน เขาแสดงออกอย่างไรกันบ้างลองมาดูกันครับ

หัวหน้าแบบเล่นด้วยเลย หัวหน้าแบบนี้จะชอบลูกน้องที่เข้ามาประจบ มาพูดจาดีๆ มาชื่นชมการทำงาน ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่ได้ทำอะไรดีเลิศเลอมากมาย แต่ลูกน้องกลับนำมาชื่นชม

และทำให้เรารู้สึกดี หัวหน้าแบบนี้ก็จะรู้สึกดีกับลูกน้องที่เข้ามาทำพฤติกรรมทำนองนี้ ผลก็คือ หลุดโลกกันไปทั้งลูกน้องและหัวหน้าเลยครับ หัวหน้าและลูกน้องแบบนี้จะกลายเป็นขี้ปากของลูกน้องคนอื่น

และหัวหน้าคนอื่น มักจะถูกติฉินนินทา ว่ามีแต่ความลำเอียง ใครทำดีด้วยก็จะดีตอบ หัวหน้าแบบนี้จะไม่มีทางได้ใจของลูกน้องเลย เพราะพนักงานจะรู้สึกทันทีว่าหัวหน้าไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ

หัวหน้าวางตัวเฉยๆ หัวหน้าแบบนี้ ในใจจะคิดว่า เราต้องไม่เอาการประจบประแจงเข้ามามีส่วนในการทำงานเด็ดขาด ก็เลยวางตัวเฉยๆ ไปกับพฤติกรรมการประจบประแจงของลูกน้องของตน

ไม่ไปสนใจอะไรมากมาย ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะมองว่าวิธีการนี้เป็นวิธีจัดการกับลูกน้องที่ประจบประแจงได้ดี แต่จริงๆ แล้ว ผมคิดว่าไม่ควรอยู่เฉยๆ แบบนี้ อย่าลืมว่า

เรามีลูกน้องหลายคนในทีมงาน ซึ่งลูกน้องแต่ละคนก็จะมีทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป มีความคิดที่แตกต่างกันออกไป และการที่เราอยู่เฉยๆ นั้น ลูกน้องคนอื่นเขาอาจจะมองว่าเราชอบ เรายินดีกับการประจบประแจง แต่ทำเป็นเฉยๆ ไว้ เพื่อไม่อยากให้ใครรู้ แบบนี้ไม่นาน ก็กลายเป็นขี้ปากคนอื่นอีก

หัวหน้าแบบตรงไปตรงมา บอกกันตรงๆ หัวหน้าแบบนี้เมื่อรู้ว่าลูกน้องเข้ามาประจบประแจง สิ่งที่เขาจะทำก็คือ เมื่อแน่ใจว่าลูกน้องมาเชิงประจบอย่างแน่นอน ก็จะบอกกับลูกน้องคนนั้นตรงๆ ว่า ผลงานจะดีได้นั้นไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้ พร้อมกับยืนกรานในที่ประชุมทีมว่า ตนเองพิจารณาผลงานของทุกคนโดยเท่าเทียมกัน

เอาผลงาน และพฤติกรรมที่ดีเป็นหลัก อะไรที่ไม่เกี่ยวกับผลงานก็จะไม่เอามาพิจารณา ดังนั้นการทำดีด้วยการซื้อของมาฝาก การมีของขวัญต่างๆ ให้ จะถือเป็นน้ำใจให้กัน

แต่จะไม่มีผลต่อผลงานแต่อย่างใด การบอกกล่าวกันตรงๆ นั้นจะทำให้พนักงานทุกคนรับทราบว่า นายไม่สนใจ และมุ่งเน้นไปที่ผลงานจริงๆ แต่ก็อย่าลืมดูผลงานกันจริงๆ ด้วยนะครับ

ดังนั้นวิธีที่จะรับมือกับลูกน้องที่ประจบประแจงอย่างออกหน้าออกตา ก็คือ การบอกกล่าวกันตรงๆ โดยไม่ทำให้พนักงานเสียน้ำใจ แต่ต้องการบอกให้เขารู้ว่า เรามุ่งเน้นไปที่ผลของการทำงานมากกว่า

ดังนั้นเวลาที่ท่านพบกับพนักงานที่เข้ามาทำดีด้วยแบบเวอร์ๆ ไปนิดหน่อย ก็คงต้องทำให้คนอื่นในทีมงานเห็นด้วยว่า สิ่งเหล่านั้นไม่มีผลต่อการทำงานแน่นอน ไม่ใช่ เล่นด้วย หรือวางเฉย เพราะคนอื่นอาจจะคิดว่าเราชอบก็เป็นได้

ที่มา : p r a k a l

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…