Home ข้อคิดสอนใจ วิธีขอขึ้นเงินเดือน “ขอแบบถูกจังหวะ” ได้ทั้งเงินได้ทั้งใจหัวหน้า

วิธีขอขึ้นเงินเดือน “ขอแบบถูกจังหวะ” ได้ทั้งเงินได้ทั้งใจหัวหน้า

10 second read
0
0
192

1. อย่าบอกตัวเลขที่คุณอยากได้

ในความเป็นจริงนั้น เราหรือแม้แต่หัวหน้าเองอาจจะยังไม่คาดคิดว่า ตัวเลขของการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีเป็นเท่าใด ด้วยเหตุนี้ คุณก็ไม่ควรที่จะบอกหัวหน้าว่าตัวเลขที่คุณต้องการหนึ่งหรือสองหลัก

สิ่งที่ควรทำมากกว่าคือ ให้หัวหน้าของคุณได้ไตรตรองถึงผลงานที่คุณอุทิศหรือสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ซึ่งผมจะขยายความในข้อต่อๆ ไป

2. ดูกาละและเทศะ

การพูดคุยเรื่องที่ sensitive แบบนี้ ต้องอาศัยการดูเวลาและสถานที่ที่สมควรครับ เพราะปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การเจรจาประสบผลสำเร็จ สมมติว่า หัวหน้าคุณเร่งรีบที่จะต้องเข้าประชุมหรือเพิ่งโดนตำหนิเรื่องผลงานของหน่วยงานมาเมื่อกี๊นี้ คุณโพล่งเข้าไปเจรจาแบบไม่ดูทิศทางลม ผมบอกได้คำเดียวสั้น ๆ

แต่มีความหมายว่า “ล้มเหลว” ครับ การดูกาลเทศะหมายถึง คุณต้องมองให้ออกว่าอะไรเป็นอุปสรรคขวางอยู่ตรงหน้า ลองดูสิว่า ผลประกอบการปัจจุบันขององค์กรเป็นอย่างไร ปีหน้าจะเดินต่ออย่างไร การมองแบบหลายมุมนี้ จะช่วยให้ข้อมูลให้หัวหน้าอาจจะเห็นคล้อยตามสิ่งที่คุณคุยด้วยนะครับ

3. อย่าชเลียร์เสียจนไม่ควร

การปรับขึ้นเงินเดือนนั้น อยู่บนพื้นฐานของการแสดงให้เห็นถึงผลงานที่ดีครับ ไม่ใช่การเลียเจ้านายเพื่อให้โดนใจแล้วหวังจะได้รับรางวัลตอบแทนการทำงานที่ดี หลายคนหวังจะให้เจ้านายรักด้วยการซื้อของราคาแพงๆ มามอบให้ในวันคล้ายวันเกิดของเจ้านาย โถ! ช่างลงทุนแบบสูญเปล่าเสียนี่กระไร

เพราะเจ้านายมักจะไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการมองว่าคุณ “เสแสร้งแกล้งทำ” หรอก ยิ่งหากข้อเท็จจริงเป็นว่า ตัวตนที่แท้ของคุณนั้น “ตระหนี่” นิ่งยิ่งกว่าสิ่งใด

ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่า คุณไร้ผลงาน และติดสินบาทคาดสินบนเสียอีกด้วย ซ้ำยังทำสิ่งที่ไม่ควรแก่การปรับขึ้นเงินเดือนที่สมน้ำสมเนื้อ อย่าทำเลยครับ ผลงานสิครับ ดียิ่งกว่าสิ่งใดใด

4. อย่าอวดอ้างเกินจริง

ผลงานที่คุณนำเสนอให้เจ้านายเห็น ควรเป็นแบบให้เห็นจริงเปรียบเทียบ actual และ expected ให้ได้ บางทีหัวหน้าอาจจะไม่ได้มองในข้อมูลผลงาน (performance record) ที่คุณเก็บรวบรวมมานำเสนอ

แต่เห็นด้วยว่าเป็นผลงานที่คุณทำ แค่นี้ก็โดนใจแล้วล่ะครับ อย่าได้อวดโอ่ว่าผลงานทั้งหลายเกิดจากคุณ เพราะแท้จริงนั้น คุณทำงานคนเดียวซะที่ไหน

งานของคุณมักจะสำเร็จได้ด้วยทีมทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานที่เกื้อกูลและสอดประสานกันอย่างดี สู้นำเสนอให้เห็นว่าคุณประสานงานรอบทิศเพื่อให้ผลงานตามเป้าหมายประสบผลจะดีกว่าเป็นไหน ๆ จริงมั๊ยครับ

5. เงินเดือนหรือตำแหน่งงานปัจจุบัน ไม่ใช่ปัญหา

อย่าได้เผลอไปบอกว่า ตำแหน่งงานปัจจุบัน และเงินเดือนที่คุณได้รับตอนนี้ เป็นปัญหาที่ทำให้คุณต้องเรียกร้องเงินเดือนเพิ่ม ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดเช่นนั้น เหตุผลสนับสนุนที่ดีที่สุดคือ

“ผลงานและการอุทิศตน” ให้กับองค์กรที่คุณควรจะต้องโชว์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ชี้ให้เห็นว่า บริษัทฯ ได้รับประโยชน์อะไรจากการทำงานของคุณ หากตีมูลค่าทางตรงได้ยิ่ง “เริ่ด” นะครับ

6. จงเต็มใจรับงานเพิ่ม

สำหรับองค์กรที่เจอมรสุมด้านการเงิน เจอปัญหาตัวแดงในสภาพคล่องทางการเงิน การที่บริษัทกัด ฟั น ไม่ลดคนด้วยการเลิกจ้าง (lay off) นั้นก็ถือว่า ดีเป็นไหน ๆ แล้ว และมันก็ต้องมีเหตุผลอะไรสักอย่างที่องค์กรตัดสินใจทำเช่นนั้น จึงเป็นไปได้ที่องค์กรอาจจะไม่รับคนทดแทนคนที่ลาออก โดยเพิ่มงานให้คุณทำแทน เพราะคุณอาจทำงานได้ดี

ทำงานได้หลายอย่าง หรือการมีคุณหนึ่งคนอาจแทนคนได้อีกสองถึงสามคนก็เป็นได้ และก็ควรอย่างยิ่งที่คุณต้องหยิบยื่นความร่วมมือให้กับองค์กรด้วยเช่นกัน เมื่อถึงเวลาพิจารณาความดีความชอบ เชื่อผมเถอะครับว่า จะไม่มีใครที่ไม่อยากจะเพิ่มอะไรให้คุณเป็นพิเศษ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะคาใจในความไม่เป็นธรรมครับ

7. อย่าบังคับหัวหน้าให้ต้องยอมตาม

ในความเป็นจริงนั้น คุณทำได้แค่เจรจาเพื่อขอให้หัวหน้างานหรือเจ้านายเห็นความจำเป็นในการปรับค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามผลงานที่คุณทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนดให้ เมื่อเป็นอย่างนี้ คุณต้องเจรจาด้วยการให้เกียรติและเคารพนับถือ แสดงถึงเหตุและผล พร้อมหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน ตรงประเด็นก็เพียงพอ

ไม่ต้องบีบคั้นหรือขู่ว่าจะลาออก เพราะการขู่แบบนี้ คุณจะทำได้เพยงครั้งเดียว และทำได้เพียงในสถานการณ์ที่องค์กรยังไม่พร้อมที่จะเสียคุณไปเท่านั้น ผู้รู้หลายท่านชี้ให้เห็นว่า การต่อรองจำเป็นต้องกระทำแบบ

“ผู้ใหญ่คุยกัน” หรือ “มีวุฒิภาวะ” โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าผลของการขอขึ้นเงินเดือนจะออกมาแบบบวกหรือลบกับตัวคุณ จงมั่นใจตัวเอง เพราะหากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คุณอยากจะได้ ก็ด้วยคุณไม่มีอำนาจที่จะกำหนดเอง แล้วจะกังวลไปทำไม สู้ตั้งหน้าตั้งตาทำงานแลกกับวันข้างหน้าไม่ดีกว่าหรือครับ

การคุกคามหัวหน้างานให้ต้องยอมตาม มักเห็นได้ในรูปแบบที่พยายามกดดันให้หัวหน้าต้องตอบ “yes” และ “when” บางคนหนักถึงขนาดอยากรู้ตัวเลขที่จะได้ เรียกว่า เรียกร้องกันเป็นฉากๆ เลยทีเดียว

ในฐานะหัวหน้างานคนนึง หากมีลูกน้องถามแบบนี้ ผมดีใจนะ และผมจะตอบด้วยสัตย์จริงว่า ผมยังไม่แน่ใจว่าให้ได้ตามต้องการหรือไม่และเมื่อใด พร้อมอธิบายเหตุผลทั้งหลายให้ได้เข้าใจ

สิ่งที่ผมอยากแนะนำให้คุณคุยในสถานการณ์แบบนี้คือ การคุยแบบ “ฝากให้พิจารณา” เท่านั้น ให้หัวหน้าได้ทดตัวเลขไว้ในใจ หรือหากเจ้านายของคุณบอกว่า “คุณผลงานดีมาก ผมจะตอบแทนให้เป็นอย่างดี” เช่นนี้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วล่ะครับ

สิ่งที่คุณควรทำคือหมั่นเก็บผลงานที่ทำในช่วงเวลาประเมินผลงาน ผลงานอะไรที่หัวหน้าประทับใจ เช่น อยู่ในทีมพัฒนาระบบงานใหม่ ๆ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้รัดกุมมากขึ้น ช่วยลดหรือประหยัดค่าใช้จ่าย ทำงานได้มากกว่าเป้าหมาย เอามาโชว์มา แ ช ร์ ได้ผลกว่าเยอะ

ในส่วนตัวผมมองว่า หัวหน้าของเราก็มนุษย์เงินเดือน ที่อยากได้อะไรการขึ้นเงินเดือนที่ดีเหมือนกับเรา ผลงานเราดี ผลงานเค้าก็เยี่ยม พูดง่ายๆ หากคุณจะได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้น

เค้าก็สมควรที่จะได้เพราะผลงานของคุณเช่นกัน การแลกเปลี่ยนจึงมักเป็นจะเป็นไปบนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่เหมาะสมเสมอ และนี่เองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผมบอกไปแล้วว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้ให้มากไป

สดท้ายที่ผมอยากเตือนก็คือ เมื่อคุณจะต้องต่อรองเรื่องการขอขึ้นเงินเดือน คุณต้องไม่ใฝ่ฝันสวยหรูถึงตัวเลขที่คุณจะได้รับ อย่าหวังว่ามันจะเป็นอย่างนั้นทั้งหมด อย่าเชื่อมั่นตัวเองสุดโต่งว่าคุณจะต้องได้เงินเดือนขึ้นตามที่อยากได้ เพราะตัวแปรที่ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมีได้เสมอ เช่น ฐานะทางการเงินย่ำ แ ย่ ลงในช่วงข้ามคืน

หรือเจ้านายมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ซึ่งล้วนแต่เกินกว่าที่คุณอาจจะคาดคิดไว้ เวลาที่คุณต่อรองการขึ้นเงินเดือนที่ว่าไปนี้ จึงขอให้เผื่อใจไว้ให้มาก ๆ เพราะหากผิดหวังก็ยังทำงานต่อ มุ่งหน้าทำงานอย่างมุมานะต่อไป

คิดเสียว่า การมาครั้งนี้ คือการนำเสนอผลงานเพื่อให้หัวหน้าเห็นผลงานที่ตอบสนองต่อเป้าหมายของหน่วยงานและเป้าหมายขององค์กรมากกว่า ผลผลิตของงานดีขึ้น แต่อย่าลืมว่าทุกประเด็นที่คุณยกมาเป็นตัวอย่างในการขอขึ้นเงินเดือน ทำให้งานงอกเงยขึ้นและมีส่วนช่วยผลักดันให้บริษัทโตขึ้นจริงๆ

ทักษะและประสบการณ์ที่คุณได้จากการทำงานหนัก คือพยานหลักฐานชั้นเลิศของการได้รับเงินเดือนมากขึ้นในวันข้างหน้า ซึ่งไม่จำเป็นที่คุณจะต้องรอรับจากองค์กรนี้เท่านั้น ปีหน้าฟ้าใหม่ หากองค์กรใดมีโอกาสให้มากกว่า จะไปเติบโตด้วยเหตุที่ท้าทายมากขึ้นก็ไม่มีประเด็นใดให้ติดใจ

ที่มา : j o b p u b

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…