
เชื่อว่าเหล่ามนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนคงเคยเจอปัญหาเงินไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือน
หรือมีเงินใช้แบบเดือนชนเดือน ลำบากเหลือเกิน ไม่มีเงินเก็บเลย
ก็รู้สึกว่าเงินที่ได้มามันก็ไม่น้อยนะ แต่พอเลยต้นเดือนมาแล้วเงินหายไปไหนหมดนะ
อุ๊ย! นั่นของ SALE นี่นา ไม่ได้แล้วต้องรีบไป ซื้ อ อันนี้ก็ เ ซ ล ล์ อันนู้นก็ เ ซ ล ล์ ช้อปๆๆ
กระจาย มีความสุขมากเลย พอมารู้ตัวอีกทีอ้าว เงินในกระเป๋าหายไปไหนหมด
ถ้าคุณกำลังเจอปัญหาแบบนี้ เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังเป็นคนที่ “ใช้เงินเกินตัว”
อยู่ก็ได้ เป็นแบบนี้ต่อไปไม่ดีแน่ๆ เพราะอาจจะต้องไปกู้หนี้ยืมสิน
และลำบากในอนาคตมากขึ้นไปอีก คนที่เหนื่อยก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นตัวคุณเอง
ก่อนที่จะใช้เงินเกินตัวไปมากกว่านี้มาดูเคล็ดลับการแก้นิสัยใช้เงินเกินตัวกันหน่อยดีกว่า
1.ปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้เงิน
พูดน่ะมันง่าย แต่ทำมันยากเหลือเกินค่ะ แต่ก็ต้องพยายามนะคะ
ให้คุณนึกไว้เสมอว่าหากเราไม่ยับยั้งชั่งใจที่จะใช้เงินเสียตั้งแต่ตอนนี้
ก็อาจทำให้เราต้องเหนื่อยในอนาคตข้างหน้า ดังนั้น คุณควรฝึกจิตใจให้แข็งแกร่ง
และตระหนักถึงความจำเป็นก่อนที่จะควักกระเป๋าจ่ายเงินให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2.ใช้เงินสด ซื้ อ ของ
บัตรเดบิตไม่เท่าไหร่ แต่ บั ต ร เ ค ร ดิ ต นี่สิคะ ง่ายในการจับจ่ายใช้สอย
ทำให้คุณเผลอลืมตัวไปว่าใช้เงินไปมากแค่ไหนแล้ว จริงอยู่ที่การใช้ บั ต ร เ ค ร ดิ ต
สะดวกตรงที่ไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ หนักๆ เอาไว้ในกระเป๋า
แต่การพกเงินสดนั้นก็ดีตรงที่เราจะไปรู้ว่าเราใช้เงินไปเท่าไหร่
และเราเหลือเงินที่สามารถใช้ได้อีกเท่าไร พูดง่ายๆ
ก็คือเราจะสามารถจัดระเบียบการใช้เงินได้ง่ายกว่านั่นเองค่ะ
3.เลิกใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ หรูหรา
หากคุณเป็นคนที่คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตแบบสะดวกสบาย หรือชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์
ซื้ อ ของราคาแพง จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ผิดอะไรถ้าเรามีเงินมากพอ
แต่ถ้าการใช้ชีวิตแบบนั้นมันทำให้เราเสียเงินที่มีอยู่น้อยนิดไปโดยใช่เหตุ ก็ควรต้องเพลาๆ ลงบ้าง
แล้วลองพิจารณาดูว่าหากเราลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงได้เราก็จะมีเงินเพิ่มขึ้นนะ
อาจจะไม่สะดวกสบายเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ไม่ต้องลำบากในอนาคต
4.เลือกคบเพื่อนที่ไม่พากันไปเสียเงิน
การเลือกคบเพื่อนก็มีอิทธิพลต่อการใช้เงินอยู่เหมือนกันค่ะ ยิ่งขาช็อปแล้วด้วย
ก็คงจะพากัน ซื้ อ ของช็อปกันสนุกสนานเลย ไม่มีใครห้ามใคร เผลออีกทีก็เงินหมดทั้งคู่แล้ว
แต่จริงๆ แล้วข้อนี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ น้อยส่วนนักที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้
ถ้าเรามีสติในการใช้เงินซะอย่าง เพื่อนช็อปเราก็ห้ามเพื่อน
เราช็อปเพื่อนก็ห้าม ผลัดกันเตือนสติน่าจะเป็นอะไรทีด่ีที่สุดเลยล่ะค่ะ
5.วางแผนการเงินให้ชัดเจน
หากคุณไม่มีความหนักแน่นหรือไม่มีเป้าหมายทางการเงิน ทั้งแบบระยะสั้น- ระยะยาว
จะทำให้คุณสูญเสียประสิทธิภาพในการจัดลำดับความสำคัญทางการเงิน ว่าเรื่องใดที่สำคัญมาก
เรื่องใดที่สำคัญน้อย สุดท้ายแล้วก็จะพ่ายแพ้ต่อกิเลสและใช้เงินไปจนหมด
ทางที่ดีก็คือต้องวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือน ว่าจะใช้จ่ายไปกับอะไรเป็นจำนวนเท่าไร
เดือนนี้จะเก็บเงินเท่าไร หรือวางแผนจะ ซื้ อ ของสักชิ้น ต้องเก็บเงินนานแค่ไหน
และทำตามเป้าหมายนั้นให้ได้ หากคุณไม่สันทัดเรื่องการวางแผน
ก็ลองปรึกษาคนใกล้ตัวที่เก่งเรื่องบริหารเงินดูนะคะ
6.ตั้งสติก่อนจ่าย
เวลาที่คนเรามีเงินเยอะๆ อยู่ในครอบครอง ก็ไม่แปลกที่เราจะอยากนำไปใช้
เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองบ้าง
แต่เงินที่ว่าเยอะนั้นก็มีวันที่จะหมดไปได้ ถ้าใช้อย่างไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ
ดังนั้น ก่อนที่จะควักเงินจ่ายไปกับอะไรสักอย่าง
อยากให้ตั้งสติให้ดีเสียก่อนว่าเราอยากได้ของสิ่งนี้จริงๆ หรือไม่
และมันจำเป็นต้อง ซื้ อ ในตอนนี้เลยหรือไม่
ลองใช้เวลาในการชั่งใจก่อนหยิบเงินออกมาจ่าย
เพราะเงินก็เหมือนสายน้ำจ่ายไปแล้วไม่หวนคืนนะคะ
ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีอย่างเช่นตอนนี้ เราควรเก็บเงินเอาไว้บ้าง
เพราะหากเกิดเหตุการณ์ ฉุ ก เ ฉิ น หรือมีเหตุจำเป็นให้ต้องใช้เงินขึ้นมา
เราจะได้มีเงินสำรองเอาไว้ใช้จ่ายในอนาคตค่ะ
เงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่เงินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้น
อย่าลืมตั้งสติก่อนควักกระเป๋าจ่ายเงินนะคะ จะได้มีเงินเก็บเยอะๆ
ที่มา : t o d a y . l i n e . m e