
หากคุณกำลังทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่ด้วยเหตุผลทั้งหลายไม่ว่าจะเรื่องรายได้ที่น้อยเกินไป
การเมืองในที่ทำงาน เบื่อหัวหน้าเต็มทน หรือไม่มีโอกาสเติบโตอีกต่อไป
ทำให้เกิดอย ากจะลาออกให้รู้แล้วรู้รอด ไปเริ่มธุรกิจของตัวเอง หรือหางานใหม่ที่
น่าจะดีกว่าที่เดิม ผมมีเช็คลิสต์ที่คุณอาจจะอย ากถามตัวเองก่อนจะตัดสินใจยื่นซองขาวครับ
1. ถ้ายังไม่ได้งานที่ไหนอย่าเพิ่งลาออก
หากคุณไม่ได้คิดจะทำธุรกิจส่วนตัว แล้วไม่ได้งานที่ใหม่ ห้ามลาออกเด็ดขาด เพราะไม่มีทางมั่นใจ
ได้เลยว่าจะได้งานใหม่เมื่อไหร่ แผนอนาคตก็เชื่อว่ายังไม่ได้เตรียม รายได้ที่เคยได้ก็จะขาดหายไป
ไหนจะผ่ อ นรถ ผ่ อ นบ้ าน ผมว่าอย่าเ สี่ ย งแบบนี้จะดีกว่า
ทนได้ก็ทนทำไปก่อน จนกว่าจะมั่นใจว่าได้ที่ทำงานใหม่แล้วแน่นอน
2. อย่าลาออก เพราะหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน
ไม่น่าเชื่อว่าหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ลาออก
การลาออกเพราะคนอื่นเป็นสิ่งคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง และสตรองอย่างแท้จริงเขาไม่ทำกัน
เป็นการโยนพ ลั งความรับผิดชอบให้แก่คนอื่น
คนที่จะประสบความสำเร็จ และเป็นผู้นำอย่างแท้จริง จะต้องทำงานได้ทุกสถานการณ์
ควบคุมสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ ทำให้หัวหน้าคล้อยตาม ไม่สนคำนินทา หรือเพื่อนร่วมงานที่ไม่เอาไหน
หากคุณกำลังจะลาออกเพราะเหตุผลนี้ขอให้คิดใหม่ทำใหม่ว่า “คุณทำดีที่สุดแล้วหรือยัง”
3.คุณมีเงินมากพอที่จะใช้ระหว่างตกงานหรือไม่
ข้อนี้สำคัญมาก เพราะหลายคนลาออกมาโดยไม่มีเงินเก็บเลยแม้แต่บาทเดียว
หรืออยู่แบบไม่มีงานทำได้เพียงแค่ครึ่งเดือน ไม่ต้องคิดจะเริ่มต้นธุรกิจอะไร ลำพังแค่เลี้ยงตัวเองให้รอดยังไม่ไหว
หากคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ให้ลองตัดสินใจดูใหม่ครับ พย าย ามเก็บเงินให้ได้มาก
กว่านี้เสียก่อน เอาแบบพออยู่ได้แบบไม่มีงานทำสัก 3 เดือน เพราะใช่ว่าคุณจะได้
งานใหม่ในทันที (ผมไม่แนะนำให้ลาออกมาเตะฝุ่นจนกว่าจะได้ที่งานใหม่ หรือทดลองทำธุรกิจแล้วมีแววรุ่ง)
สำหรับคนอย ากลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัวขอให้เตรียมเงินล ง ทุ นให้มากกว่าแผนการทำ
ธุรกิจที่คาดการณ์ไว้เผื่อฉุ ก เ ฉิ นสัก 1 เท่าตัว เผื่อว่าแผนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังครับ
และบวกกับเงินสำรองเลี้ยงชีพอีก 3 เดือนด้วยระหว่างที่ยังไม่มีรายได้เข้ามา
4. คุณมีแผนการรับรองที่มาของรายได้
อย่าลาออกจากงาน เพราะอารมณ์เด็ดขาดครับ อันนี้ผมขอเตือนไว้เลย เพราะการตัดสินใจ
ที่ใช้อารมณ์ชั่ ววูบนั้นมักจะลงเอยไม่ดีเสมอ ก่อนจะลาออกจากงานคุณควรเตรียมแผนการ
ที่มาของรายได้เสียก่อน ว่าจะทำอย่างไรถึงจะหารายได้มาชดเชยส่วนที่กำลัง
จะขาดหายไปจากงานประจำเดิม หากยังไม่มีแผนการนี้ขอให้หยุดการตัดสินใจลาออกก่อน
5. ทดสอบแผนของรายได้ในอนาคตแล้วหรือยัง
หากคุณกำลังคิดจะลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ขอให้จำข้อนี้ไว้ให้ขึ้นใจ ผมขอแนะนำ
ให้คุณลองเริ่มธุรกิจไปพลาง ๆ ระหว่างที่ยังทำงานอยู่ที่เดิม ลองทดสอบตลาด
หรือผลตอบรับจากผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่คุณจะนำเสนอเสียก่อน ลองดูทิศทางของรายได้
หรือโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ หากไปได้สวย และมีแนวโน้มว่าจะได้รายได้เข้ามาเพียงพอ
หรือมากกว่างานประจำที่สูบชีวิตของคุณ ก็ตัดสินใจยื่นใบลาออกได้เลย แต่ถ้าดูแล้วไม่น่า
จะมีทิศทางที่ดีมากนัก อย่าคิดเข้าข้างตัวเองว่าลาออกไปทำเต็มตัวแล้วจะดีขึ้น
ตัดใจจากธุรกิจที่ไม่ทำเงิน และเริ่มหาอะไรอย่างอื่นมาสานฝันของคุณแทน
สำหรับคนที่กำลังจะย้ายไปสู่บริษัทใหม่ ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจถึงรายได้ที่จะได้รับ
เอาให้กระจ่างชัดเจน ไม่ใช่ว่าย้ายไปแล้วได้เงินน้อยกว่าเดิม หรือไม่แนวทางการ
ทำงานที่เหมาะกับตนเอง อย่าให้คนที่บริษัทเดิมหัวเราะเย าะเอาว่าย้ายไปแล้วร่วง
6. เตรียมความพร้อมด้านจิตใจหรือยัง
ถึงแม้คุณจะทำงานดีหรือไม่ดี ตรงตามเป้าหมายของบริษัทหรือไม่ คุณก็จะได้รับเงินเดือนทุก
สิ้นเดือนเป็นจำนวนเงินที่พอจะคาดเดาได้ ทำให้รู้สึกไม่ต้องวิตกกังวลอะไรมากนัก ไม่น่าจะเหตุการณ์ชักเงินไม่ถึงหลัง
แต่เมื่อลาออกจากการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้ว หลายคนเลือกที่จะทำธุรกิจของตนเอง
มักต้องพบเจอกับโ ร คเ ค รี ย ด เพราะเป็นกังวลว่าเดือนนี้จะต้องเพิ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
หรือไม่ตอนปลายเดือน ธุรกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางไหน จะไปรอดหรือไม่ยังไม่รู้อนาคต
ผมแนะนำให้ลองอ่ า นประวัติของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ
โดยเฉพาะคนที่ลาออกจากงานประจำมาเสริมความรู้ และประสบการณ์
หลายคนต้องลำบาก และประหยัดสุดๆ เพื่อจะนำเงินไปจุนเจือธุรกิจแทนความสะดวก
สบายของตนเอง หากคุณยังไม่พร้อมจะทุ่มเททำอะไรแบบคนเหล่านั้น
ขอแนะนำว่าให้ลาออกไปเป็นพนักงานเงินเดือนบริษัทอื่นต่อไปจะดีกว่า
7. คิดถึงผลกระทบต่อคนรอบข้าง
การลาออกมาเผชิญภาวะของการไม่มีรายได้ไม่ได้กระทบแต่ตัวคุณเพียงคนเดียว
โดยเฉพาะคนที่กำลังมีครอบครัว หรือคนที่ต้องหาเงินส่งที่บ้ าน
ต้องคิดให้รอบคอบ และบอกคนที่อาจได้รับผลกระทบนี้ไว้ล่วงหน้า
คุณควรบอกให้คนรอบข้างที่อาจได้รับผลกระทบเตรียมเงินสำรองไว้ล่วงหน้าเผื่อสัก 3 เดือนเหมือนกับคุณ
เพราะไม่รู้ว่าจะได้งานเมื่อไหร่ หรือธุรกิจจะรอดตามแผนการจริงหรือไม่
ถึงแม้จะมีการทดสอบธุรกิจไปพลางระหว่างทำงานแล้วก็ตาม กันไว้ดีกว่าแก้ครับ
หากคุณตรวจสอบจากเช็คลิสต์นี้จนมั่นใจแล้วว่าการลาออกไม่ได้เกิดจากอารมณ์ชั่ ววูบ
มีการเตรียมพร้อมเงินทุนสำรองไว้เยอะพอสมควร และธุรกิจของคุณมีแววว่าจะรุ่งมากกว่ามานั่ง
ทำงานเพื่อความฝันของคนอื่น เรียกได้ว่าพร้อมสุด ๆ การลาออกมาเพื่อเผชิญ
กับสิ่งที่ดีกว่าในอนาคตน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องสำหรับคุณ
ที่มา : l e a d e r w i n g s