
ปัจจุบัน สังคมมนุษย์เงินเดือนมีสภาวะการใช้เงินที่ค่อนข้างฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายเกินฐานะ ทำให้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาทางด้านการเงิน บางคนขาดการควบคุมจนถึงขั้นพัฒนาเป็นหนี้สิน
และขาดสภาพคล่องทางการเงินในที่สุด ปัญหาทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย หากทุกคนได้รับการปลูกฝังเรื่องการบริหารเงินที่ถูกหลักมาตั้งแต่แรก
วิธีบริหารเงินดังต่อไปนี้ เหมาะสำหรับทุกท่านที่ต้องการทราบวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวในข้างต้น ซึ่งวิธีต่างๆเหล่านี้ ต้องอาศัยความอดทนและพลังใจเป็นอย่างมาก
เพื่อใช้เป็นแรงผลักดันในการแก้ปัญหา ให้คุณหลุดจากสภาวะล้มเหลวทางการเงิน และมีเวลาเตรียมตัวสะสมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณได้เร็วยิ่งขึ้น
วิธีบริหารเงินสำหรับผู้ประสบสภาวะล้มเหลวทางการเงิน
1. วางแผนการเงินให้ถูกหลัก
อย่าลืม ว่าตอนนี้สภาวะทางการเงินของคุณกำลังขาดสภาพคล่อง ไม่ปกติอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น ทันทีที่เงินเดือนประจำถูก โ อ น เข้าบัญชี คุณไม่ควรกดออกมาใช้จ่ายโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เพราะวิธีการเงินแบบไร้จุดมุ่งหมาย อาจสร้างภาระหนี้สินเพิ่มให้คุณอีกโดยไม่รู้ตัว
ก่อนอื่น คุณต้องแบ่งเงินออกเป็นสามส่วน ตามประเภทค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
-ค่าใช้จ่ายประจำ
หมายถึงค่าใช้จ่ายประจำที่ไม่มีความผันแปร มียอดชำระคงที่ตลอดในจำนวนเงินเดิมๆ เช่น ค่าชำระหนี้ บั ต ร เ ค ร ดิ ต ,ค่าผ่อน บ้ า น,ค่าผ่อนรถ,หรือค่าเช่า บ้ า น เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนี้ควรถูกแยกออกเป็นอันดับแรก และชำระคืนให้ตรงเวลา เพื่อรักษาเครดิต และลดความเสี่ยงเรื่องมูลค่าเพิ่มของดอกเบี้ย ,ค่าติดตามทวงถาม,และค่าธรรมเนียมต่างๆ
-ค่าใช้จ่ายผันแปร
คือค่าใช้จ่ายประจำที่ไม่มีความคงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เช่น ค่าพาหนะ,ค่าน้ำมันรถ,ค่า อ า ห า ร ,ค่าสื่อ ส า ร เป็นต้น คุณควรแบ่งรายจ่ายเหล่านี้
โดยวัดตามจำนวนเงินที่เคยใช้ไปเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา อย่าลืมบวกเพิ่มเข้าไปอีกนิดหน่อย เพราะค่าใช้จ่ายประเภทนี้ อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลา
อย่าลืมควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นด้วย เช่น ปกติแล้ว คุณมักจะตื่นสาย จนต้องใช้บริการรถแท็กซี่เป็นประจำ คุณก็ควรตื่นให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หรือในแต่ละเดือน
คุณใช้ค่าอินเตอร์เน็ตจนเกินลิมิตอยู่เสมอ ลองตรวจสอบดู ว่าถ้าไม่ใช่เพราะเรื่องงาน คุณดาวน์โหลดอะไรที่เป็นส่วนเกินมา บ้ า ง เช่นซีรี่ส์,ละคร,มิวสิควีดีโอ เหล่านี้สามารถใช้บริการ Wifi ฟรีตามจุดต่างๆได้ โดยไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตรายเดือนให้สิ้นเปลือง
-ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
หรือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างไร้ ส า ร ะ และทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยเปล่าประโยชน์ เช่น ค่าเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า หรือสินค้า แ บ ร น ด์ ราคาแพงทุกชนิด ทั้งหมดนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองที่ควรควบคุม และตัดออกหากไม่จำเป็น
บุคลิกที่ดี ไม่ได้หมายความว่า ต้องใช้สินค้าราคาแพงเสมอไป เพราะสินค้าบางอย่างอาจแพงเพราะค่าดีไซน์ และค่าโฆษณาเท่านั้น ปัจจุบันมีสินค้าคุณภาพดี ราคาประหยัดมากมาย ให้คุณได้เลือก ซื้ อ ให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของคุณเอง โดยไม่ต้องเสียเงินมากมายไปอีกหลายเท่าตัว
2. ลดรายจ่าย
เชื่อมโยงกับหัวข้อที่ 1 ก่อนอื่น คุณปรับพฤติกรรมของตนเอง ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ค่ากาแฟราคาสูงตามร้านหรูๆ หรือเปลี่ยนนิสัยในการบริโภค
ที่จากเดิมเคยแวะทาน อ า ห า ร ตามร้านในห้างสรรพสินค้าเกือบทุกวัน ลองเปลี่ยนมาทำกับข้าวง่ายๆทานเอง หรือแวะทานร้านตามสั่งธรรมดาที่ศูนย์ อ า ห า ร บริเวณออฟฟิศ บ้ า งก็ได้
หากเทียบกันระหว่าง อ า ห า ร ราคาค่อนข้างสูงตามร้านต่างๆ กับ อ า ห า ร ราคาปกติ ในหลายๆเมนู อ า ห า ร ราคาแพงอาจไม่มีคุณค่าทาง ส า ร อ า ห า ร เท่ากับราคาปกติเลยด้วยซ้ำ
บางเมนูถือเป็น อ า ห า ร ประเภทจังค์ฟู้ด ที่ทานเพื่อเพิ่ม ส า ร พิษและไขมันใน ร่ า ง ก า ย มากกว่าที่จะเพิ่มคุณค่า เปรียบเสมือนคุณจ่ายเงินในราคาที่สูงกว่า เพื่อ ซื้ อ ส า ร พิษเข้ามา บั่ น ท อ น ร่ า ง ก า ย ตัวเอง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในส่วนนี้ คุณสามารถควบคุมได้ไม่ยากเลย
ลดค่านิยมผิดๆลง แล้วหันมาใช้ชีวิตอย่างสมถะ ไม่ต้องเลิศหรูตามสังคมลวงตาในปัจจุบัน แล้วคุณจะกลายเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในด้านการเงินได้อย่างไม่น่าเชื่อ
3. เพิ่มรายได้
ค้นหาความถนัด หรือความสามารถพิเศษของคุณให้เจอ แล้วใช้มันเพื่อหารายได้พิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย หรือปิดยอดหนี้สินที่คงค้างได้ด้วย
หากคุณมีความสามารถในด้านภาษา คุณสามารถเปิดสอนภาษาที่ บ้ า นในวันหยุดได้ โดยเก็บค่าเรียนในอัตราที่เหมาะสม หรือหากคุณมีความสามารถในด้านการเขียนโปรแกรม ตัดต่อ สื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา คุณก็เปิดเว็ปไซต์รับงานพิเศษเหล่านี้ได้ ดีไม่ดี อาจพัฒนากลายเป็นรายได้หลักที่มากกว่าเงินเดือนเสียอีก
4. ออมเงินเท่าที่จะทำได้
คุณอาจใช้วิธีดั้งเดิม เช่นการเก็บเศษเหรียญหรือธนบัตรย่อยสะสมไว้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ฉุ ก เ ฉิ น ยามสิ้นเดือน หรือเก็บเข้าธนาคารสะสมไว้ได้ทีละเล็กทีละน้อย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามกำลังความสามารถของคุณ
คุณคงเคยได้ยินเรื่องของคนเก็บขยะคนหนึ่ง ที่เก็บเงินฝากธนาคารวันละ 20 บาท ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี เขาก็มีเงินเก็บถึง 3 แสนบาทโดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว
ดังนั้น ต่อให้คุณเริ่มเก็บเงินในจำนวนแค่น้อยนิด ก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเก็บเลย ไม่ใช่หรือ?
5. ใช้บริการรีไฟแนนซ์ของสถาบันการเงินต่างๆ
ปัจจุบัน ทุกสถาบันการเงินมีบริการรับรีไฟแนนซ์หนี้ บั ต ร เ ค ร ดิ ต วงเงินส่วนบุคคล โดยวิธีนี้จะช่วยลดภาระการชำระหนี้ต่อเดือนของคุณให้ลดลง แต่ยืดระยะเวลาให้ยาวขึ้น โดยการรวมยอดหนี้ทั้งหมดทุกบริษัท เข้าเป็นยอดชำระเดียว
ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน คุณมีหนี้ บั ต ร เ ค ร ดิ ต ทั้งหมด 3 ใบ ยอดรวมทั้งหมด 3แสนบาท ตกภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือน ถึง 12,000 บาทเป็นขั้นต่ำ กินยอดเงินเดือนเข้าไปกว่า 80% แล้ว
คุณแค่เลือกธนาคารที่รับรีไฟแนนซ์ให้วงเงินเต็ม 100% เพราะแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน อาจรับรีไฟแนนซ์เพียงครึ่งหนึ่งของวงเงินเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ การรีไฟแนนซ์ของคุณก็ถือว่าไม่มีประโยชน์อะไร เพราะภาระนั้นยังคงอยู่
ทันทีที่อนุมัติ ทางธนาคาร จะจัดการชำระหนี้แทนคุณทั้งหมด แล้วนำยอดหนี้ทั้งหมด โ อ น เข้าสถาบันการเงินนั้นๆเป็นยอดเดียว ทำการตกลงเรื่องระยะเวลาผ่อนจ่ายคืนกับคุณ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 36 เดือนขึ้นไป แล้วแต่ความสามารถของตัวคุณเอง
เมื่อถึงเวลานี้ วงเงินใน บั ต ร เ ค ร ดิ ต ของคุณจะเต็มทุกใบดังเดิม คุณต้องมีความยับยั้งชั่งใจที่จะไม่ก่อหนี้เพิ่มอีก ถ้าไม่มีความจำเป็น
ถ้าคุณปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 5 ข้อที่กล่าวไปได้จนสำเร็จ หมดสภาวะหนี้สิน และเป็นไทแก่ตัว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเก็บออมเพื่อวัยเกษียณ หรือวางแผน ล ง ทุ น เพื่ออนาคต ดังนั้น
พลังใจจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้ คุณต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างสูง และพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างผ่านพ้นไปในที่สุด ขอให้โชคดี เพื่อก้าวสู่ความเป็นอิสระทางด้านการเงินในอนาคต
ที่มา : m o n e y h u b