
เมื่อมีใครสักคนเปิดประเด็นนี้ขึ้นมา จะเกิดการถกเถียงเพื่อหาคำตอบนั้น
และคุณจะพบว่าคำตอบที่ได้ หนีไม่พ้นคำว่า ‘เศรษฐี มหาเศรษฐี คนร่ำรวย’ หรืออื่น ๆ ในทำนองนี้
แต่เมื่อมองในความเป็นจริงแล้ว นั่นอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด (เรียกได้ว่าตอบถูกแล้ว แต่ยังไม่ถูกที่สุด)
เพราะอะไรน่ะเหรอ ?
เพราะมหาเศรษฐีที่พวกคุณกำลังพูดถึงนั้น ไม่ได้มีจดหมายทวงหนี้มาจ่ออยู่หน้าประตูบ้ าน
ไม่ได้มีบิลค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระกองอยู่เต็มเตียง และไม่ได้มีปากท้องที่หิวโหยนั่งกินข้าวจาน
เดียวกันอยู่บนโต๊ะอ า ห า ร และนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่สนใจระยะเวลาจำกัดแค่ 3 วัน
อย่างที่คุณตั้งโจทย์ไว้ เพราะพวกเขามีเวลามากพอสำหรับการคิดและวางแผนเพื่อหาเงินก้อนโตที่คุ้มค่ามากกว่าในระยะย าว
แต่สำหรับคนเป็นหนี้นั้น…ไม่ใช่เลย
เพราะคนเป็นหนี้ ไม่ได้มีเวลามากขนาดนั้น
นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้คนเขาพูดกันว่า ‘มหาเศรษฐีที่คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด อาจไม่ใช่คนที่หาเงินเก่งที่สุด’
เพราะคนที่รู้จักวิธีเพิ่มเงินในกระเป๋าภายในระยะเวลาอันจำกัดได้อย่างรวดเร็ว ก็คือ
“ลูกหนี้” ที่มีค่าใช้จ่ายมหาศาลอย่างเรา ๆ เหมือนที่ครูพี่ม้อคได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือ ‘อย่ากลัวหนี้ เรายังมีที่ยืน’ ว่า…
“ใครจะหาเงินเก่งเท่ากับคนที่มีหนี้ แล้วต้องชำระหนี้ตามเวลาที่เขากำหนด..ไม่มีอีกแล้ว…
เพราะการชำระหนี้ไม่ตรงเวลา อาจทำให้ทรัพทย์สินถูกยึด เสียเครดิตที่จะต่อยอดทำอะไรต่อไป อาจเสียแม้กระทั่งอิสรภาพ”
สุดท้ายแล้ว ความกลัวจึงผลักดันเราเอาไว้ ทำให้ไม่กล้างอมืองอเท้า และไม่ว่าจะ
เหลือเวลาน้อยแค่ไหน คนเป็นลูกหนี้ก็จะหาทางดิ้นรนและเอาตัวรอดจนผ่านวิ ก ฤ ต ครั้งนั้นไปได้ในที่สุด
แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจและควรหันกลับมาตระหนักกันอย่างจริงจังเลยก็คือ…
คนเป็นหนี้หาเงินเก่งมาก หาเงินได้เร็วมาก แต่ทำไมถึงยังติดอยู่ในวังวนของการใช้หนี้ และร่ำรวยไม่ได้เสียที ?
เมื่อคุณถูกบีบ ว่าต้องใช้หนี้ให้ทันตามกำหนด ความคิดในหัวของคุณจะสร้างสรรและ
โลดแล่นอย่างมาก คุณรู้ว่าควรทำอะไรต่อไป และมีคำตอบอย่างชัดเจนว่าควรหาเงินเพื่มขึ้นมาก ๆ จากสิ่งไหน
เช่น ถ้าสิ้นเดือนนี้ถึงกำหนดต้องจ่ายด อ ก เ บี้ ยให้กับธนาคาร ส ม อ งคุณจะเริ่มเชื่อมโยงและคิดหาช่อง
ทางการสร้างรายได้เพิ่ม คุณจะตระหนักได้ทันทีว่าสิ่งที่ทำอยู่มันยังไม่ถึงระดับสูงสุด
มันยังไม่ติดเพดาน คุณยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากธุรกิจใหม่หรืออาจเป็นธุรกิจเดิมที่คุณมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว
ถ้าคุณชอบทำอ า ห า ร ตอนเช้าคุณอาจตั้งร้านขายโจ๊ก หรือน้ำเต้าหู้กับปาท่องโก๋
ตอนเที่ยง ๆ คุณอาจเริ่มขายอ า ห า รตามสั่ง หรือขายอ า ห า รจานเดียวกินง่าย ๆ สำหรับพนักงานออฟฟิศ
และนอกจากนั้นคุณอาจผูกสัญญากับบริษัทเดลิเวอรี่ เพื่อให้คนสั่งง่าย
และสร้างรายได้เพิ่ม หรืออาจมีเมนูห่อกลับบ้ าน เพื่อบริการลูกค้าในช่วงเย็น
เอาล่ะ…พอถึงสิ้นเดือนคุณจะมีเงินมากพอสำหรับการใช้หนี้แล้ว
แต่คุณอาจไม่มีเงินเก็บ และยังติดอยู่ในวังวนของการเป็นหนี้ เพราะคุณประมาทเกินไป
ประมาณว่า ‘ได้เงินมาก็ใช้…ใช้นั่น ใช้หนี้’ แต่ไม่ได้วางแผนสำหรับการเงินในระยะย าวเอาไว้
และคำแนะนำของเราก็คือ เมื่อจะใช้เงิน ต้องเข้าใจวิธีใช้เงินแบบ ‘ยิ่งใช้ เงินยิ่งเพิ่มขึ้น’
เราใช้เงินแบบยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่มได้อย่างไร ?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีอะไรบ้ าง
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้อย่างชัดเจน คือ
1. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้
2. ค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นรองลงมา
3. ค่าใช่จ่ายที่มีความจำเป็นน้อยมาก
โดยในหัวข้อที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้
ยกตัวอย่างเช่น ค่าอ า ห า ร ก่อนจะใช้เงินจ่ายค่าอ า ห า ร ค่าเครื่องดื่มไป คิดก่อนว่าสิ่งที่อยู่ในจานนั้นจะให้สุ ข ภ า พที่ดีกลับมา
ไม่ใช่กินไปแล้วป่ ว ย เพิ่มโ ร ค สุดท้ายต้องเสียค่ารั ก ษ า อีกบาน หรืออื่น ๆ เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าสาธารณูปโภค ค่าเดินทางต่าง ๆ
ในส่วนนี้เราสามารถประหยัดหรือดัดแปลงวิธีคิดให้จ่ายน้อยลง แต่มีความสุขมากขึ้นได้ ด้วยการ ‘ล ง ทุ นเพื่อเรียนรู้’
เช่น ล ง ทุ นซื้ อหนังสือ หาหนังสือมาอ่ า น เมื่ออ่ า นแล้วคิด เข้าใจถึงปัญหา
คุณจะมองภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น และหาทางออกได้ง่ายกว่าเดิม
หรืออาจล ง ทุ นไปกับการเข้าร่วมอบรม ฟังสัมมนาในหัวข้อที่ตรงกับปัญหาของตัวเอง
เมื่อได้ฟังวิธีแก้ปัญหาหรือวิธีคิดจากคนที่เคยมีประสบการณ์หรืออาบน้ำร้อนมากก่อน
คุณจะเข้าใจว่าปัญหาของคุณนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และแน่นอนว่ามันสามารถแก้ไขได้
เพียงเข้าใจวิธีคิด และปรับเปลี่ยนการกระทำเสียใหม่
“ยิ่งใช้เงินในเรื่องนี้เท่าไหร่ ยิ่งกำไรทวีคูณ”
หัวข้อที่ 2 ค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นรองลงมา
ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายภายในบ้ าน ค่าเสื้อผ้า ค่ารั ก ษ า พย าบาล ความคุ้มค่า
คือกำไรที่ใช้ได้นาน ไม่ว่าจะเป็นไม้กวาด ชุดชั้นใน หรือแม้กระทั่งร่ า ง ก า ยของเราเอง
หัวข้อที่ 3 ค่าใช่จ่ายที่มีความจำเป็นน้อยมาก
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้นั้นมีอยู่เต็มไปหมด เป็นกิเลสที่ไม่จำเป็นต้องตอบสนองก็ได้ เช่น กิน ดื่ม
เที่ยวเตร่เพื่อสนองความต้องการไปวัน ๆ (ลองคิดดูนะว่าถ้าคุณมีหนี้เยอะมาก
ยังควรควักเงินออกจากกระเป๋าเพราะค่าใช้จ่ายนี้อีกหรือไม่?)
เมื่อมองค่าใช้จ่ายทั้งหมดอย่างชัดเจนเป็น 3 ส่วนแล้ว อย่าลืมลงบัญชี
จะได้รู้ว่ามีเงินเข้า เงินออกมากแค่ไหน อย่าปล่อยให้เงินไหลหายไปไม่รู้ตัว…
“แค่เพียงรู้จักลงบัญชีทุกวัน เราจะพบสิ่งที่น่าตกใจ นั่นคือเงินเหลือใช้มากขึ้นในทันที”
เท่านั้นไม่พอ…ถ้าอย ากรวยจริง ต้องเก็บออมให้ได้ด้วย
แล้วจะเก็บออมอย่างไรให้รวย ?
ลองอ่ า นประโยคนี้ดู “ตอนที่เรามีเงินเดือนสองหมื่น หลายคนคิดว่าถ้าได้สักสามหมื่นก็น่าจะมีเหลือเก็บ”
คุณคิดอย่างไรกับมัน…ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ทุกคนคงรู้อยู่แก่ใจดี
เพราะในความเป็นจริงแล้ว คุณไม่ต้องมีเงินเดือนหลักแสน ก็สามารถเก็บออมเงินได้
มันอยู่ที่คุณคิด…คิดว่าจะเก็บเท่าไหร่ ใช้เท่าไหร่
บางคนมีรายได้หลักแสน หลักล้าน แต่ไม่มีเงินออมแม้แต่บาทเดียว เพราะอะไรล่ะ…
คำตอบง่าย ๆ คือ เพราะเขาไม่เก็บ ไม่ออม แต่กลับมีข้ออ้างที่จะใช้เงินให้หมด
ถ้ารายรับน้อย เราเก็บน้อยจะได้ไหม ?
คำตอบคือ ได้…สำคัญที่เราเริ่มเก็บให้ได้เท่านั้นเอง
เก็บน้อย เก็บมาก สุดท้ายมันจะสะสมรวมกันเป็นเงินก้อนเอง
เก็บเศษเงินวันละร้อยสองร้อย แค่ปีเดียวเราก็สามารถนำเงินนั้นไปใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย
“ความลับของการออมคือ…ออมก่อนใช้ ด้วยใจเด็ดเดี่ยว จะกินแกลบอย่างโอหัง
เพื่อเก็บตังค์อย่างกล้าหาญ นั่นแหละครับ นิสัยอาแปะ นิสัยเจ้าสัวตัวจริง”
ที่มา : อ ย่ า ก ลั ว ห นี้ เ ร า ยั ง มี ที่ ยื น