
สังคมแห่งการแก่ง แ ย่ งชิงดี มีให้เห็นอยู่มากมายรอบตัวในยุคปัจจุบัน
ยุคที่ทุกคนต่างเห็นผลประโยชน์ตัวเองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม
หรือ เรียกสั้นๆว่า “เห็นแก่ตัว” มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง เปรียบเทียบไว้ว่า…
เรื่องเล่าปั้มน้ำมันร้าง… มีอยู่ว่า
คนไทยคนแรก… เดินทางมาถึงหมู่บ้านห่างไกล แถวนี้มีถนนตัดผ่าน
รถสัญจรไปมามากมาย แต่ไม่มีปั้มน้ำมันเลย จึงตัดสินใจลงทุนเปิดปั๊มน้ำมัน ไม่นานนักก็มีลูกค้าเยอะตามคาด
คนที่สอง… เดินทางมาเห็นปั๊มน้ำมันมีลูกค้าเข้าใช้เยอะดี ก็เลยตัดสิ้นใจเปิดปั้มที่ฝั่งตรงกันข้ามถนน เพื่อเรียกลูกค้าอีกฝั่ง
คนที่สาม… เดินทางมาถึง เห็นเขาเปิดปั๊มน้ำมัน ท่าทางจะไปได้ดี ก็เปิดบ้าง แต่ไปเปิดดักหน้าปั้มที่เปิดอยู่ก่อน
คนที่สี่… เดินทางมาถึง เห็นธุรกิจปั้มน้ำมันไปได้ดี ก็เลยตัดสินใจเปิดปั๊มน้ำมัน
แต่ต้องการ แ ย่ งลูกค้าเลยเปิดดักหน้าปั้มที่สาม แล้วก็ลดราคาน้ำมันลงอีกด้วย เพื่อตัดราคา
คนที่ห้า… เดินทางมาถึง เห็นเขาเปิดปั๊มน้ำมันกันเยอะแยะก็เอาบ้าง แล้วมีการลดแลกแจกแถมเพื่อดึงดูดลูกค้า
คนที่หก… คนที่เจ็ด… เดินทางมาถึงก็พากันแห่เปิดปั๊มน้ำมัน
ผลสุดท้ายลดแลกแจกแถมแล้วไม่คุ้มทุน ตลาดเสียหายทุกรายเจ๊งกันหมดกลายเป็นปั๊มร้าง
หมู่บ้านก็กลับคืนสู่ความเงียบเหงาเหมือนเดิม
เห็นใครขายอะไรได้ดี ทำอะไรกำไรงาม ก็พากันไปขายแข่ง นี่แหละสาเหตุ ขายดีจนเจ๊ง…!!
…แต่…!!มีชายญี่ปุ่นคนแรก… เดินทางมามาถึงหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ
ยังไม่มีปั้มน้ำมันจึงลองเปิดปั๊มน้ำมันในถนนเส้นนี้ ปรากฏว่ามีลูกค้าเยอะแยะ
คนที่สอง… เดินทางมาเห็นมีคนเข้ามาเติมน้ำมันกันอย่าคับคั่ง
คิดว่าน่าจะมีคนที่อยากทานข้าวด้วยแน่ จึงเปิดร้าน อ า ห า ร ธุรกิจก็เป็นไปด้วยดี
คนที่สาม… เดินทางมาเห็นปั๊มน้ำมันผู้คนหลากหลาย ร้าน อ า ห า ร ก็มีลูกค้ามากมาย
คิดว่าน่าจะมีคนต้องการพักผ่อนระหว่างเดินทาง จึงเปิดธุรกิจโรงแรม
คนที่สี่… เดินทางมา เห็นผู้คนหลากหลาย มีทั้งเติมน้ำมัน มีทั้งร้าน อ า ห า ร
มีทั้งที่พัก จึงคิดว่าน่าจะมีร้านสะดวกซื้อด้วย เผื่อคนเดินทางมีอะไรขาดเหลือ
คนที่ห้า… คนที่หก… เดินทางทางมาอย่างต่อเนื่อง จากหมู่บ้านเล็กๆ
ก็กลายเป็นเมื่องที่กำลังเฟื่องฟู ทุกคนต่างก็ร่ำรวย มีงานมีการทำกันถ้วนหน้า
ไม่ได้ว่าสังคมเราไม่ดี หรือต้องการดูถูกกันเองแต่อยากลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ
ธุรกิจที่ดีไม่ได้อยู่ที่คุณชนะคู่แข่งได้มากเท่าไหร่แต่อยู่ที่เกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่แก่ง แ ย่ ง ไม่เอาเปรียบ
ไม่ตัดกำลัง ไม่ตัดราคากัน สุดท้ายอยู่ไม่ได้ทั้งสองฝ่ายแต่ขึ้นอยู่กับว่า สามารถยืนระยะได้นานเท่าไร
เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมมากที่สุดได้ช่วยเหลือผู้คนให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นได้มากเท่าไหร่ต่างหาก
ด้วยแนวคิดนี้สินค้าท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นจึงประสบความสำเร็จอันดับต้นๆของโลก…
หากใครเคยได้ไปเที่ยวจะเห็นได้ว่าในแต่ละท้องถิ่นสินค้าไม่มีซ้ำกันเลย มีขายเฉพาะท้องถิ่นตัวเอง
หันมามองที่บ้านเรา ที่ริมถนนสายหลักจะเต็มไปด้วยโรตีสายไหม ปลาเผา ไก่ย่าง สินค้าอื่นๆที่เห็นว่าขายดี
ทุกๆ ร้าน จะนำมาขายเหมือนกันหมด เพื่อ แ ย่ งลูกค้ากันไม่แปลกที่แรกๆจะขายดี แต่พอมาขายแข่งกันมากขึ้น
มีคนขายมากกว่าคนซื้อ แ ย่ งลูกค้ากัน ก็ต้องเจ๊งกันไปตามระเบียบของเหลือ เอามาขายซ้ำ
คุณภาพ แ ย่ ลง ลูกค้าก็ไม่กล้าอุดหนุนสุดท้ายถ้าไปไม่รอดก็ต้องเลิกกิจการ หันไปเป็นลูกจ้างแทน
ขายที่ดิน ขายมรดก บรรพบุรุษ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพของประชาชน
ที่เอาแต่แข่งกันโดยที่ไม่สนใจคู่แข่งแข่งขันกันเองแล้วต้องเลิกกิจการไปในที่สุด น่าคิดนะครับ…
ที่มา : b i t c o r e t e c h