
ในองค์กรหนึ่ง ๆ ย่อมมีพนักงานที่มีพื้นฐานชีวิตหลากหลายแตกต่างกัน การจะทำงาน
ร่วมงานกันให้ได้อย่างราบรื่นจึงต้องอาศัยการปรับตัวเข้าหากัน ต่างคนต่าง พ ย า ย า ม
ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้เข้าใจกันและลดปัญหาความขัดแย้งลงได้
เราขอแนะนำวิธีปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน 9 ประเภทต่อไปนี้
1. ยืนหยัดเป็นฝ่ายค้าน
คนประเภทนี้กลัวการเปลี่ยนแปลง จึงต้องคัดค้านเอาไว้ก่อน เช่น เมื่อการเสนอ
ความคิดใหม่ ๆ ก็จะปฏิเสธและเลือกที่จะใช้รูปแบบเดิมมากว่า เช่น ให้พิมพ์งาน
ด้วยคอมพิวเตอร์ก็มักจะบอกว่าเขียนเอาก็ได้ ให้ส่งอีเมลก็ยืนยันที่จะส่งทาง
ไปรษณีย์ เป็นต้น วิธีรับมือ ให้เวลาเขาได้เรียนรู้ประโยชน์ของที่สิ่งเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เขาค่อย ๆ ยอมรับและเริ่มเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของเขาเอง
2. เช้าชามเย็นชาม
คนประเภทนี้ทำงานแบบย่ำอยู่กับที่ เรื่อย ๆ ไปวัน ๆ อาจเป็นเพราะความเคยชิน
ที่ทำงานแบบเดิม ๆ แล้วรู้สึกว่าปลอดภัยดี จึงไม่คิดปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไร
วิธีรับมือ เสนอหัวหน้าให้ส่งเขาไปอบรมสัมมนาหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์
ผลงานจะได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยให้กำลังใจเขาด้วย เพราะการ
เปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ค่อนข้างทำได้ยาก
3. แยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวไม่ออก
คนบางคนอาจมีปัญหาที่บ้าน ทำให้ไม่สบายใจ กลายเป็นคนเก็บตัว หรือกลายเป็นคน
ขี้หงุดหงิด จนพาลมีเรื่องกับคนอื่นโดยไม่รู้ตัว หรือบางคนมีเรื่องขุ่นเคืองกับคนใน
ที่ทำงาน พาลให้ไม่อยากทำงานไปด้วย วิธีรับมือ พ ย า ย า ม ให้ทั้งสองฝ่ายมาตกลง
ทำความเข้าใจกัน เพื่อจะได้ร่วมงานกันต่อไปอย่างราบรื่น
4. ไม่มั่นใจในตัวเอง
บางคนมีความคิดดีแต่ไม่กล้าแสดงออก กลัวว่าจะไปล้ำเส้นใครเข้า หรือกลัวว่า
ถ้าทำผิดพลาดแล้วจะถูกตำหนิ เมื่อคิดแบบนี้จึงไม่กล้าพูดอะไร ได้แต่คอยรับ
คำสั่งเท่านั้น วิธีรับมือ คอยให้กำลังใจ ส่งเสริมให้เขาทำในสิ่งที่ดี พ ย า ย า ม
ให้เขาแสดงความคิดเห็นในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก่อน ชมเชย เพื่อให้เขามีกำลังใจ
และกล้าแสดงความคิดเห็นต่อๆ ไป หากเขาทำผิดก็ช่วยแก้ไข ไม่ตำหนิ หรือซ้ำเติม
5. เหลี่ยมจัด ลอบกัด ปัดความรับผิดชอบ
คนประเภทนี้เล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ต่อหน้าอย่างลับหลังอีกอย่าง ชอบนักเรื่องเอา
ความดีใส่ตัวแล้วโยน ค ว า ม ชั่ ว ให้คนอื่น ถ้าต้องร่วมงานด้วยควรระวังให้มาก
เพราะอาจถูก แ ท ง ข้ า ง ห ลั ง เป็น แ ผ ล เ ห ว อ ะ ห ว ะ หรืออาจเจอเล่ห์กล
ทำให้งานของเขากลายเป็นงานของเราได้ง่ายๆ วิธีรับมือ เข้าใกล้เท่าที่จำเป็น
ต้องร่วมงานด้วย ทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด และต้องมีหลักฐานว่า เราทำอะไร
เขาทำอะไร และร่วมกันอย่างไร
6. หลงตัวเอง เก่งคนเดียว
คนประเภทนี้มักคิดว่าไม่มีใครฉลาดเท่า และไม่มีใครทำงานแทนได้ จึง
ไม่ยอมแบ่งงานหรือทำงานร่วมกับใคร รวมทั้งไม่ชอบฟังคำแนะนำจากใครด้วย
วิธีรับมือ พ ย า ย า ม ปรับตัวเราให้ทำงานร่วมกับเขาได้ พ ย า ย า ม ชื่นชม
ในความเก่งของเขา โดยไม่แสดงอาการไม่พอใจออกมา
7. หนักไม่เอา เบาไม่สู้
คนประเภทนี้ชอบผัดวันประกันพรุ่ง กินแรงคนอื่นประจำ ไม่ยอมเสียสละเพื่อใคร
หลบได้เป็นหลบ เลี่ยงได้เป็นเลี่ยง วิธีรับมือ พ ย า ย า ม พูดว่าเขาทำงานดี
เพื่อให้เขาได้แสดงฝีมือบ้าง ในทางกลับกันอย่าไปว่าเขาเชียวล่ะ
เพราะยิ่งว่าเขาก็จะยิ่งไม่ยอมทำอะไรมากขึ้น
8. ขี้โมโห
ถ้าเรามีเพื่อนร่วมงานประเภทโกรธง่ายหายเร็ว เดี๋ยวดีเดี๋ยว ร้ า ย ไม่พอใจอะไร
ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ก็แสดงอาการออกมาโดยไม่คิดถึงจิตใจผู้อื่น วิธีรับมือ
เวลาที่เขาแสดงอาการฉุนเฉียว อย่า พ ย า ย า ม เถียงหรือให้เหตุผล เพราะ
ถึงอย่างไรเขาก็ไม่รับฟังเราหรอก ถ้าอยากจะเตือนเขา ต้องพูดตอนเขาอารมณ์ดี ๆ
9. ขาดมนุษยสัมพันธ์
คนประเภทนี้จะตรงไปตรงมา คิดอย่างไรพูดอย่างนั้น แบบ ข ว า น ผ่ า ซ า ก
ถึงแม้จะมีเจตนาดี แต่ว่าแสดงออกไม่เป็น ทำให้คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเย่อหยิ่ง
ไม่อยากคบ ไม่อยากร่วมงานด้วย วิธีรับมือ ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น พ ย า ย า ม
มองส่วนดีของเขา และมองข้ามเรื่องขุ่นใจเล็ก ๆ น้อย ๆ จากคำพูดของเขา
เพื่อสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
ถ้าเรา พ ย า ย า ม เข้าใจคนละแต่ละประเภทและ พ ย า ย า ม ปรับตัวให้เข้ากันได้
ผลงานก็จะดีมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ที่สำคัญการที่ไม่ต้องมีเรื่อง
ขุ่นใจกับใครก็จะทำให้ตัวเราเองมีความสุขในการทำงานด้วย
ขอขอบคุณ th.jobsdb