Home ข้อคิดสอนใจ เคยสงสัยไหม ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง?

เคยสงสัยไหม ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง?

5 second read
0
0
67

1. ลูกน้องไม่เก่งพอ เวลาลูกน้องที่ไม่เก่งเสนออะไรไป หัวหน้าก็จะรู้สึกว่าฟังไม่ขึ้น ทำไปก็ผิดอยู่ดี ทำไปก็มีโอกาสทำให้ธุรกิจไม่ไปไหน ลูกน้องก็มักจะบ่นว่า

เสนออะไรหัวหน้าไปก็ไม่เคยฟัง ไม่เคยนำมาใช้แล้วจะมาถามทำไมวิธีแก้นั้น หัวหน้าต้องพูดกับลูกน้องตรงๆ ว่าจุดอ่อนคืออะไร ถ้าหัวหน้าไม่บอกลูกน้อง ลูกน้องก็

จะไม่รู้หรอกว่าตัวเองไม่เก่งตรงไหน ต้องพัฒนาเรื่องใด ถ้าผู้เป็นหัวหน้ารู้สึกว่า การที่ตนเองไม่ฟังเข้าข่ายตามกรณีที่ 1 นี้ หัวหน้าต้องเริ่มที่จะกล้าให้ feedback ตรง ๆ

สิ่งสำคัญคือหัวหน้าต้องพูดแบบเฉพาะเจาะจงในจุดที่ลูกน้องทำได้ไม่ดี อ่อนจุดใด เช่น ลูกน้องอ่อนในเรื่องความรู้ในงาน มุมมอง ประสบการณ์ การมองในเชิงกลยุทธ์ ฯลฯ

หัวหน้าก็ต้องอธิบายให้ชัดเจน เพื่อที่ลูกน้องจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงตนเองได้

2. หัวหน้ายึดในประสบการณ์ตนเองอย่างเดียว หัวหน้าที่ยิ่งมีประสบการณ์มากมักจะยึดในสิ่งที่ตนเองเคยทำ และเคยประสบความสำเร็จมาก่อน หัวหน้าจะเชื่อมโยง

การแก้ไขสิ่งต่างๆ ไปกับประสบการณ์ที่ตนเองเคยทำมา เขามักมองว่ามีวิธีการที่ดีที่สุดวิธีการเดียว ซึ่งก็คือวิธีที่เขาเคยทำมาแล้วสำเร็จนั่นเอง จึงนับเป็นเรื่องยาก

ที่เขาจะฟังความคิดเห็นของคนอื่นวิธีแก้คือ หัวหน้าต้อง ใจกว้าง ไม่ยึดติดกับวิธีการที่ตนเองเคยทำสำเร็จ ต้องยอมรับในวิธีการใหม่ๆ หัวหน้าก็ต้องบอกกับตัวเองว่า

ประสบการณ์เราก็อาจจะดี แต่จะมีวิธีอื่นๆ อีกหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่าทุกวันนี้แต่ละครั้งที่เราตัดสินใจ เราอาศัยประสบการณ์เราอย่างเดียวหรือเปล่า ถ้ารู้สึกตัวว่าตนเอง

เป็นแบบนั้น ก็ต้องรีบแก้ไขทัศนคติของตนเอง

3. หัวหน้าเป็นคนประเภท Perfectionist กลัวความผิดพลาดไม่ยอมรับ ค ว า ม เ สี่ ย ง เมื่อมอบหมายงานให้ใครก็ต้องลงในรายละเอียดปลีกย่อยทุกครั้งทุกอณู

ก็เลยจะดูเหมือนพูดเยอะไม่ฟังใครจะแก้ไขอย่างไรน่ะหรือ…หัวหน้าต้องเริ่มทบทวนตัวเองว่า ทุกครั้งที่มอบหมายงาน เราได้บอกเป้าหมาย วัตถุประสงค์และความคาดหวัง

แล้วหากบอกครบถ้วนตามนั้นแล้ว เราไปลงในวิธีการปลีกย่อยอีกขนาดไหน หากเราบอกข้อมูลชัดเจนแล้วก็อาจจะไม่ต้องไปลงรายละเอียดมากนัก เพราะอาจจะ

ทำให้ลูกน้องรู้สึกว่า หัวหน้าไม่ไว้ใจการทำงานของเขาก็เป็นได้

4. สไตล์หัวหน้าเองเป็นคนที่ไม่ชอบฟังใคร บางคนไม่ได้ถูกหล่อหลอมให้เป็นผู้ฟังที่ดี จึงไม่ค่อยอดทนที่จะฟังคนอื่น ฟังอะไรนานๆ ไม่ได้ ชอบตัดบท หากสาเหตุ

ของการไม่ฟังของหัวหน้าตกอยู่ในข้อนี้นับว่าแก้ยากมาก เพราะเป็นสไตล์ที่ติดตัวมานาน ต้องใช้เวลาในการแก้ไข หากเกิดกรณีเช่นนี้ ต้องชี้ให้หัวหน้าเห็นข้อเสียของ

การไม่ฟังคนอื่น เน้นผลดีของการฟังคนอื่นว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่สำคัญสำหรับลูกน้องในยุคปัจจุบันหัวหน้าต้องเริ่มถามแล้วว่า เรากำลังเป็นผู้นำให้คนกลุ่มไหน

คนยุคปัจจุบันต้องการได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น หัวหน้ารับรู้และรับฟังถือเป็นแรงจูงใจที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับลูกน้อง

5. หัวหน้ามีความเชื่อมั่นในตนเองสูง การที่หัวหน้าได้ก้าวสูงขึ้นๆ ก็จะยิ่งมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นๆ พอเชื่อมั่นตนเองสูงขึ้น อาจจะทำให้เขารู้สึกชื่นชมมุมมอง

คนอื่นน้อยเกินไป ไม่ค่อยเห็นคุณค่าในไอเดียคนอื่นแน่นอนว่าคนที่ก้าวไปในระดับสูงได้เป็นคนเก่ง แต่ที่สำคัญคือไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งสูงแค่ไหน แต่การเรียนรู้ก็

ยังไม่มีวันสิ้นสุด คุณต้อง พ ย า ย า ม ให้คุณค่ากับความคิดเห็นและมุมมองคนอื่น คุณควร พ ย า ย า ม ให้คุณค่ากับทุก
ไอเดีย ทุกความคิดเห็น พ ย า ย า ม มองข้อดี

ของไอเดียต่างๆ เปิดใจสักนิดที่จะรับฟังความคิดเห็นคนอื่นๆ อาจจะทำให้เราเห็นข้อดี หรือข้อแตกต่างในอีกมิติหนึ่งก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราฟังประชุม 1 ชั่ ว โ ม ง เต็ม

อาจจะไม่ได้ไอเดียดีๆ มาทั้ง 1 ชั่ ว โ ม ง เต็ม แต่อาจจะมีไอเดียดีๆ มาสัก 5 นาที ซึ่งอย่าคิดว่ามันน้อย 5 นาทีที่ได้มานั้นอาจจะมาต่อยอดงานของเรา และต่อเติม

เราให้เต็มแก้วมากขึ้นก็ได้

6. ปัญหาในเรื่องกระบวนการ ในการฟัง มีคนบางกลุ่มที่ Hearing but not Listening มีปัญหา ในกระบวนการย่อยข้อมูล ทำได้แค่การได้ยินคนอื่น แต่ไม่มีกระบวนการ

ในการเอาไปกรอง เอาไปคิด เอาไปต่อยอด ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าโทรมาบอกว่าไม่พอใจกับการให้บริการ คนที่แค่ “hear” ก็จะบอกข้อมูลแค่ว่าลูกค้าไม่พอใจ แต่คนที่ “listen”

จะคิดต่อว่า..อืม ลูกค้าไม่พอใจกี่ครั้งแล้วนะ โทนเสียงที่พูดแสดงว่าลูกค้าซีเรียสไหม

นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของกรณีนี้ ซึ่งนับว่าปัญหานี้แก้ยากมากๆ ยากกว่ากรณีข้อ 4 เสียอีก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีแก้ วิธีแก้ก็คือ บอกเขาตรงๆ ว่าเขามีปัญหาแบบนี้ ต้องบอกให้

เขาทำเป็นขั้นเป็นตอนเลยว่าต้องอย่างไรบ้าง และให้ฝึกจนติดเป็นนิสัยก็จะช่วยให้ปัญหาเบาบางลงจะเห็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ที่ส่งผลให้หัวหน้าแสดงทีท่า

ไม่ฟังลูกน้อง เมื่อประสบปัญหาหัวหน้าไม่ฟังขึ้นมา ควรที่จะต้องมาแจกแจงก่อนว่า หัวหน้าคนนั้นจัดอยู่ในประเภทใด ซึ่งสาเหตุที่หัวหน้าไม่ฟังอาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุเดียวก็ได้

เราก็ต้องค่อยๆ มาวิเคราะห์ดูแล้วก็แก้ไปทีละจุดที่สำคัญผู้ที่เป็นหัวหน้าเองต้องตระหนักก่อนว่า การที่หัวหน้าไม่รับฟังลูกน้องนั้น มันก่อให้เกิดผลเสียอย่างไรบ้าง

หากไม่อยากให้เกิดผลเสียที่จะตามมามากมาย ก็ต้องเร่งแก้ไข เปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะยอมปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้พร้อมที่จะรับฟังผู้อื่นการที่เราได้รับฟังคนอื่น

เราได้เรียนรู้แน่นอนไม่มากก็น้อย น้ำไม่มีวันเต็มแก้ว ประสบการณ์เดียวไม่มีทางเหมาะที่สุดกับทุกสถานการณ์ หากหัวหน้าหรือผู้นำไม่ฟังคนในองค์กร ก็จะทำให้ไม่รู้วิธีการ

แก้ไขปัญหาในองค์กร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนในองค์กรกำลังคิดอะไร เราจะโค้ดเขาถูกจุดหรือไม่ หากเราได้ฟังมากก็จะทำให้เรารู้ว่าคนในองค์กรคิดอย่างไร เราจะแก้ไขอย่างไร

ถ้ายิ่งหัวหน้าสร้าง บ ร ร ย า ก า ศ ให้ลูกน้องแสดงออกได้เต็มที่ ก็จะเป็นประโยชน์กับทั้งหัวหน้าและองค์กรเอง

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551

Load More Related Articles
Load More By jingjai
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

วิธีบริหารเงิน ให้มีกินมีใช้ “ไม่เป็นหนี้”

การออมที่ดี คือ การออมอย่างมีความสุข ไม่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างลำบากแต่การใช้เงินอย่างไร ให้…