Home ข้อคิดสอนใจ 5 นิสัยแย่ๆ อย่าทำในที่ทำงาน..หลายคนไม่รู้ตัว

5 นิสัยแย่ๆ อย่าทำในที่ทำงาน..หลายคนไม่รู้ตัว

9 second read
0
0
1,395

หลายองค์กรประเมินผลงานพนักงานกันเป็นรายปี แต่ก็มีบางแห่งจัดกันปีละ 2 ครั้ง

เพื่อตรวจเช็คการทำงานของพนักงาน รวมไปถึงความรู้สึกนึกคิด

ซึ่งไม่ได้วัดออกมาเป็นระดับคะแนน หรือความพึงพอใจ จากการตอบคำถาม “ถูก” หรือ “ผิด” ที่สำคัญ

สิ่งที่ได้พูดออกไปในระหว่างการประเมินอาจจะสร้างสรรค์ หรือ ทำ ล า ย หน้าที่การงานได้เลยทีเดียว

แต่บางบริษัทมองว่าการประเมินผลงานประจำปีเป็นเรื่องล้าสมัย

เพราะนายจ้างควรประเมินเรื่องอื่นๆ ทั้งขีดความสามารถในการทำงาน

การบริการลูกค้า ทีมเวิร์ก ไปจนถึงทัศนคติ ทำให้หลายองค์กรใช้ระบบการให้คำแนะนำย้อนกลับ

หรือฟีดแบ็กรวมถึงระบบการสอนงาน หรือโค้ชชิ่งแทน แต่ไม่ว่าองค์กรจะใช้การประเมินแบบใด

สิ่งสำคัญคือพนักงานต้องสามารถสื่อ ส า ร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และมี 5 ประโยคที่ไม่ควรเอ่ยออกมา เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลลบมากกว่า

ซึ่ง cheatsheet.com เขียนถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

“นี่ไม่ใช่หน้าที่ของฉัน”

ประโยคนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า ผู้พูดต้องปรับปรุงมารยาทไม่ให้พูดโพล่งออกมาแล้ว

ควรจำไว้ด้วยว่า การกำหนดหน้าที่งาน หรือ Job Description

ไม่ได้ครอบคลุมหน้าที่ที่ต้องทำทั้งหมด 100% แถมยังต้องปรับเปลี่ยนตามสภาพธุรกิจอีกด้วย

นายจ้างชื่นชอบพนักงานที่มีความยืดหยุ่น พร้อมรับมือกับงานหลายๆ อย่าง

ด้วยทัศนคติเชิงบวก แต่ถ้าต้องการสะท้อนถึงความต้องการที่มากเกินไปของนายจ้าง

ก็สามารถเลือกใช้ประโยคอื่นๆ แทน เช่น “งานเดิมที่กำหนดเส้น ต า ย เอาไว้

ทำให้ยังไม่มีโอกาสทำหน้าที่เพิ่มเติม” หรืออธิบายว่า

คุณไม่ควรรับผิดชอบงานส่วนนี้ เพราะมีคนอื่นที่เหมาะสมมากกว่า

“คุณคาดหวังจากฉันมากเกินไป”

แน่นอนว่า นายจ้างย่อมคาดหวังหลายเรื่อง

ซึ่งอาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าทำงานเกินค่าตอบแทนที่ได้รับ

แต่การปกป้องตัวเองมากเกินไปก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด

ดังนั้น การอดทนและคุมสติเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอะไร

เพราะการแสดงอารมณ์ออกมาอาจไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น

“ฉันทำไม่ได้”

การพูดว่า “ทำไม่ได้” เป็นข้อจำกัด ซึ่งนอกจากผู้พูดจะจำกัดความคิดของตัวเอง

เกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้แล้ว ยังจำกัดความคิดของคนอื่นๆ

รวมถึงนายจ้างเกี่ยวกับความสามารถของผู้พูดด้วย

การพูดประโยคนี้เท่ากับบอกนายจ้างว่า คุณไม่มีทักษะที่จะทำงานให้สำเร็จได้

และหากตอบห้วนๆ ก็อาจแปลได้ว่า คุณไม่พยายามจะเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลเสียเข้าไปอีก

ดังนั้นจึงควรเลี่ยงไปใช้คำพูดอื่นๆ เช่น “เราจะทดลองทำอย่างไรดี”

หรือ “นี่เป็นข้อเสนอแนะที่ดี ให้โอกาสฉันได้มีส่วนร่วมที่จะทำให้สำเร็จด้วยคน”

ซึ่งจะเปิดทางให้สามารถหาแผนที่เหมาะสมกับตัวเองได้

“ขอบคุณที่สังเกตเห็นในที่สุด”

การได้รับคำชื่นชมในการประเมินผลงานนับเป็นความสำเร็จในหน้าที่การงานขั้นเล็กๆ

แต่ก็ไม่ควรหลงระเริงกับคำชมนั้น หากไม่สามารถรับมือได้ดีพอ เช่น การกล่าวคำประเภทว่า

“ขอบคุณที่สังเกตเห็นในที่สุด” จะทำให้บรรยากาศกลับอึดอัด

และอาจทำให้นายจ้างไม่ชื่นชมคุณอีกในอนาคต แค่ขอบคุณ

หรืออธิบายถึงความพยายามที่ยาวนานกว่าจะสำเร็จก็น่าจะเพียงพอแล้ว

“ไม่ได้ขี้เกียจนะ ก็แค่ไม่แคร์เท่านั้นเอง”

นี่เป็นประโยคเด็ดจากภาพยนตร์เรื่อง “ออฟฟิศ สเปซ” แต่ถ้านายจ้างไม่ได้รู้จัก

สถานการณ์หลังกล่าวประโยคนี้ก็จะชวนอึดอัด โดยเฉพาะเมื่อนายจ้างมองหน้าเพื่อ

ให้อธิบายถึงคำพูดดังกล่าวที่แสดงถึงความไม่พอใจ

รู้เคล็ดลับ 5 ประโยคที่ห้ามพูดแล้ว ก็ทุ่มเททำงานให้เต็มที่

เวลาประเมินผลงานจะได้เปิดใจกับหัวหน้ากันแบบสบายใจ

เผื่อได้ขึ้นเงินเดือน แถมด้วยตำแหน่งใหม่ๆ ก็ได้ ใครจะไปรู้!

ที่มา : w e a l t h m e u p

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…