Home ข้อคิดสอนใจ 10 เรื่องเงินต้องระวัง ที่คนทำงานประจำต้องเจอ

10 เรื่องเงินต้องระวัง ที่คนทำงานประจำต้องเจอ

6 second read
0
0
111

กับดักที่ 1 รับบทเป็นสายเปย์

อย่าจมอยู่กับการรับบทเป็นนางสายเปย์โดยเฉพาะกับคนรักของคุณ

ตามใจได้แต่ต้องพอดี! เพราะถ้าคุณอยากสร้างอนาคตร่วมกัน

คุณทั้งสองอาจต้องวางแผนการเงินร่วมกัน ก่อนจะซื้ออะไรต้องคิดอย่างรอบคอบ

เช่น เปลี่ยนเป็นเปย์เฉพาะในโอกาสสำคัญ ๆ ก็ได้

กับดักที่ 2 ซื้อใจเพื่อนด้วย “ของราคาแพง”

ใคร ๆ ก็อยากได้รับการยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะจาก “เพื่อน”

คุณอาจพยายามทำทุกทางเพื่อให้ชนะใจพวกเขา รู้ตัวอีกทีคุณหมดเงิน

ไปกับการซื้อของราคาแพงต่าง ๆ ให้เพื่อน จนตัวเองเดือดร้อน

เช่น แชมเปญราคาแพงสำหรับงานปาร์ตี้ ซื้อของ แ บ ร น ด์ เนมให้เป็นของขวัญกับเพื่อน เป็นต้น

แม้วิธีนี้จะช่วยให้ได้รับการยอมรับ แต่ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด

เพราะความจริงแล้ว เมื่อคุณเข้าสู่เลข 3 การเก็บเงินสำคัญที่สุด แต่ถ้าคุณยังอยากซื้อของให้เพื่อน

คุณอาจต้องตั้งงบประมาณทางสังคมให้เหมาะสมกับรายได้ที่คุณมี

ไม่จำเป็นต้องซื้อของแพงตลอดก็ได้ เพราะเพื่อนที่แท้จริง

เขาไม่มานั่งคิดหรอกว่าต้องของแพงเท่านั้นถึงจะยอมเป็นเพื่อนด้วย

กับดักที่ 3 คิดว่าชีวิตที่หรูหรา = ความสำเร็จ

เมื่อคุณได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้น คุณอาจจะคิดว่าต้องเริ่ม

“ใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น” ถ้าคุณกำลังคิดแบบนี้

แสดงว่าคุณติดกับดักแล้วล่ะ! แม้รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูหรูหรา

จะดึงดูดผู้คน แต่มันไม่ได้เทียบเท่ากับความสำเร็จเสมอไป

กลับกันถ้าคุณสามารถรักษาวินัยการใช้จ่ายและเพิ่มเงินเก็บในบัญชีได้มากกว่าเดิม

นั่นต่างหากที่เรียกว่าความสำเร็จที่แท้จริง อย่าตกหลุมพราง

ให้กับการสร้างไลฟ์สไตล์หรูหราด้วยเงินที่บางครั้งคุณไม่สามารถจ่ายได้

เพราะมันจะจบลงด้วยการเสียอิสรภาพทางการเงินในระยะยาวของคุณ

กับดักที่ 4 ให้ความสำคัญกับความต้องการของบุตรหลาน ก่อนรักษาความปลอดภัยทางการเงิน

ลูก ๆ ของคุณมักจะต้องการบางสิ่งบางอย่างเสมอ เช่น จักรยานคันใหม่

ของเล่นชิ้นใหม่ และรองเท้าสุดเท่เหมือนเพื่อนที่โรงเรียน ถ้าคุณมีกำลังมากพอ

มีงบประมาณสำหรับเขา และไม่กระทบกับแผนการเงินที่คุณวางไว้ คุณสามารถทำได้

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มันเริ่มกระทบการเงินของคุณและครอบครัว

คุณอาจต้องคิดอย่างรอบคอบว่าสิ่งไหนคุณจ่ายได้ และจำเป็นสำหรับลูก ๆ ของคุณ

หัดพูดคำว่า “ไม่” และอธิบายให้พวกเขาฟังให้เข้าใจว่าเพราะอะไร

มากกว่ายอมจำนนต่อแรงกดดัน เพราะไม่ว่าอย่างไร

ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวจะสร้างความสุขให้ลูก ๆ ของคุณในทุกช่วงวัย

กับดักที่ 5 หมดเงินไปกับ “งานแต่งงาน” และ “การช้อปปิ้งหรือพักผ่อนในวันหยุด”

หากคุณเลือกที่จะแต่งงานในวัย 30 ปี คุณอาจต้องการจัดงานแต่งงานอย่างเต็มที่

แน่นอนว่าการจัดงานแต่งงานที่ยิ่งใหญ่ อาจจะทำให้รู้สึกดีและภูมิใจ

แต่ถ้ามันทำให้คุณต้องเดือดร้อน ไปกู้หนี้ยืมสิน เพื่อให้ได้จัดงานยิ่งใหญ่สมฐานะ

อาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับชีวิตคุณวัย 30 คุณจะทำได้ก็ต่อเมื่อ

มันไม่ทำให้คุณต้องเป็นหนี้ หรือใช้เงินเก็บไปกับมันทั้งหมด

เช่นเดียวกับวันหยุด เมื่อคุณมีรายได้เพิ่มขึ้น คุณอาจรู้สึกว่าคุณต้องช้อปปิ้ง

หรือไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดให้สมกับที่คุณเหน็ดเหนื่อยทำงานมา

เป็นการดีที่คุณจะได้พักผ่อนและซื้อความสุขให้ตัวเอง

แต่คุณต้องไม่ซื้อจนเกินตัว ช้อปปิ้งได้ ไปเที่ยวได้ แต่ต้องสมดุลกับรายได้ของคุณด้วย

กับดักที่ 6 ไม่ได้ลงทุนเผื่อวันที่คุณ “เกษียณ”

คุณในวัย 30 อาจจะคิดว่าตอนนี้ทุกอย่างกำลังดี มีรายได้พอใช้ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร

ค่อยเก็บเงินหรือลงทุนทีหลังก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณอายุ 50

หรือ กำลังจะเข้าใกล้เลข 6 คุณจะไม่มีวันคิดแบบนั้นแน่นอน

ในวันที่คุณยังสามารถหารายได้ เก็บเงิน หรือลงทุนอะไรสักอย่างได้

จงทำ เพื่อในวันที่คุณเกษียณ ไม่สามารถทำงานได้แล้ว

จะได้ไม่ลำบาก และได้พักผ่อนอย่างมีความสุข

กับดักที่ 7 ล้มเหลวในการวางแผนสำหรับเหตุ ฉุ ก เ ฉิ น หรือชีวิตในอนาคต

เมื่ออายุ 30 ปี เป็นเรื่องปกติที่จะยังรู้สึกว่ามีเวลาอีกเยอะ แต่เพราะคำว่า “ ฉุ ก เ ฉิ น ”

มันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอและคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าคุณไม่วางแผนการเงิน

เผื่อเหตุ ฉุ ก เ ฉิ น ไว้เลย ไม่ว่าจะเป็นรถเสีย เ จ็ บ ป่ ว ย หรืออะไรก็ตาม คุณอาจเดือดร้อนก็ได้

เพราะวัย 30 ปี เป็นเวลาที่ดีที่สุดในการเตรียมตัวสำหรับเรื่องไม่คาดคิดต่าง ๆ

ถ้าคุณวางแผนการเงินเผื่อไว้ จัดสรรเงินออมสำหรับใช้ยาม ฉุ ก เ ฉิ น ไว้บ้าง

เมื่อเกิดเหตุคุณจะไม่เดือดร้อนแน่นอน

กับดักที่ 8 การซื้อที่เหนือความคาดหมาย

30 คือวัยที่เหมาะแก่การสร้างเนื้อสร้างตัว ซื้อรถ ซื้อบ้าน แม้จะเป็นการวางแผนชีวิตที่ดีมาก

แต่ก็อาจจะเป็นกับดักการเงินได้เหมือนกัน ถ้าคุณทำในวันที่ยังไม่พร้อม

รายได้ที่คุณได้รับกับภาระความรับผิดชอบทางการเงินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

อย่าทำให้ประโยคที่ว่า อายุเท่านี้ต้องมีบ้านแล้ว ต้องมีรถแล้ว ฯลฯ

มาทำให้คุณรู้สึกกดดัน และไม่มีความสุข แต่จงทำในวันที่พร้อม

เพื่อให้ของเหล่านั้น เป็นรางวัลชิ้นใหญ่ ไม่ใช่ภาระก้อนใหญ่

กับดักที่ 9 ล้มเหลวในการก้าวหน้าของอาชีพการงาน

หลังจากก้าวเข้าสู่อายุ 20 ปี คุณจะรู้สึกว่าได้เวลาสำหรับการทำงานของคุณแล้ว

และมีสิ่งใหม่ ๆ รอให้คุณได้เรียนรู้อยู่ แม้คุณจะพอใจกับการทำงานและรายได้ที่ได้ในตอนนั้น

แต่เมื่ออายุ 30 ปีคุณยังทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม ได้รายได้เท่าเดิมอยู่

หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย รู้ไว้เลยว่านี่ไม่ใช่ “ความมั่นคง”

ในหน้าที่การทำงาน แต่มันคือ “ความล้มเหลว” ความมั่นคงในหน้าที่การงานคือ

การที่คุณเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ จงเรียนรู้

และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้ชีวิตการทำงานของคุณเติบโตและมั่นคง

กับดักที่ 10 ใช้ชีวิตไปวัน ๆ ไม่ตั้งเป้าหมายทางการเงินใด ๆ

กับดักอันดับหนึ่งเมื่อพูดถึงการเคลื่อนไหวทางการเงินในวัย 30 ปี คือ

คุณใช้ชีวิตไปวัน ๆ โดยที่ไม่ได้วางแผนการเงินใด ๆ เผื่ออนาคตไว้เลย

ถ้าคุณต้องการไปได้ไกล และต้องการสร้างเนื้อสร้างตัว

สร้างฐานะ คุณต้องมีแผน กำหนดเป้าหมาย ทั้งการเงินและชีวิต

คุณอาจจะเริ่มด้วยเป้าหมายระยะสั้น ๆ ก่อน เช่น ภายในปีนี้จะเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท

แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป้าหมายไปเรื่อย ๆ เมื่อคุณรู้สึกว่าชีวิตเริ่มมีความมั่นคงมากขึ้น

ก็อาจจะเปลี่ยนเป้าหมายเป็นระยะยาว เช่น วางแผนเผื่ออนาคตในวันที่คุณต้องเกษียณ

ที่มา : r y o u n o i 1 0 0 l a n

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…