Home ข้อคิดสอนใจ เมื่ออายุเข้าวัย 30 ปี 6 เรื่องนี้ต้องเริ่มจริงจังได้แล้ว

เมื่ออายุเข้าวัย 30 ปี 6 เรื่องนี้ต้องเริ่มจริงจังได้แล้ว

13 second read
0
0
157

คนอายุในวัย 30 หลายคนอาจจะกำลังตั้งตัวได้ บางคนก็ประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็ยังไม่รู้ว่าชีวิตตัวเองจะต้องเดินไปทางไหน

ยังติดเล่นติดเที่ยวเหมือนตอนเป็นวัยรุ่น อยากให้ทุกคนที่เข้าใกล้เลขวัย 30 ฟังไว้ หรือใครที่ถึง 30 แล้วยิ่งต้องฟังให้ดี เพราะความเป็นผู้ใหญ่ของคุณมันเริ่มจากตรงนี้

ช่วงอายุ 10-19 เราเป็นวัยรุ่น

ช่วงอายุ 20-29 เราเป็นผู้ใหญ่สมัครเล่น

ช่วงอายุ 30-40 เราเป็นผู้ใหญ่จริงๆ

เมื่อเราอายุ 30-40 จะเป็นตัวบ่งบอกว่าคุณจะแก่ตัวไปเป็นยังไง คุณจะกลายเป็นคนแก่ที่ต้องใช้ชีวิตยากลำบาก ไม่มีจะกิน หรือคุณจะกลายไปเป็นคนแก่ที่มีหลักมีฐานในชีวิต ดูมั่นคง

นั่นเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำของคุณตอนอายุ 30-40 ปี แล้วหลังจากนั้นเมื่อคุณอายุ 60 ปีเป็นต้นไป คุณจะต้องอยู่กับสิ่งที่คุณทำมาตลอดทั้งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติที่หามาได้ หรือหนี้สินที่คุณสร้างไว้ก่อนหน้านั้น

หรือแม้แต่ สุ ข ภ า พ ของคุณเอง ก็เกิดจากการดูแลของคุณตั้งแต่วัยยังหนุ่มสาว ตอนที่คุณอายุน้อยๆ ทำงานหนักๆ ใช้ชีวิตแบบสุดโต่ง คุณอาจจะยังไม่เป็นอะไร

ยังดูเหมือนว่า ร่ า ง ก า ย ยังแข็งแรงดี แต่เมื่อคุณแก่ตัวมา ทุกอย่างที่คุณทำกับ ร่ า ง ก า ย จะปรากฏให้คุณเห็นตอนช่วงอายุ 50-60 นี่แหละ

การวางแผนเพื่อเข้าสู่วัย 30 เริ่มต้นด้วย 6 ข้อดังนี้

1. ต้องรู้ตัวเอง ว่าระหว่าง หนี้สิน กับ ทรัพย์สิน มีอะไรมากกว่ากัน

เราต้องหันมาสำรวจตัวเองก่อนว่า ตอนนี้เราอยู่ในจุดไหนสำหรับรายการค่าใช้จ่าย มีหนี้สิน หรือ ทรัพย์สินมากกว่ากัน บางคนคิดว่าเราก็มีของมีค่าที่ซื้อมาในมูลค่ามากๆเยอะแยะ

แต่ทำไมกลับยังมีหนี้สินอยู่มากมาย เพราะบางคนมักจะซื้อของที่ลดมูลค่า ไม่ใช่ของที่เพิ่มมูลค่า อย่างเช่น รถยนต์, สมาร์ทโฟน ที่มูลค่ามักจะลดลงเรื่อยๆ แทนที่จะสะสมทรัพย์สินที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ อย่างเช่น ทองคำ, หรือการนำเงินไปลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม

2. มีเงินเก็บสำรอง ฉุ ก เ ฉิ น อย่างน้อย 6 เดือน

เงินสำรอง ฉุ ก เ ฉิ น ควรเป็นเงินที่สามารถถอนออกมาใช้ได้ตลอดเวลาที่เราต้องการ หรือทรัพย์สินที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในทันที เพื่อที่ว่าเวลาเราจำเป็นต้องใช้เงินทันที จะสามารถเอามาได้เลย

แต่เงินสำรองของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน เพราะแต่ละคนก็มีภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราต้องคำนวณจากรายจ่ายปกติต่อเดือนของเรา ตั้งแต่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่างวดรถ

ค่าเช่าบ้านผ่่อนบ้าน ค่าอยู่ค่ากิน ถ้าเรามีรายจ่ายเดือนละ 20,000 เราต้องมีเงินสำรอง 20,000×6 = 100,000 ไว้สำหรับเหตุ ฉุ ก เ ฉิ น อย่างเช่น ตกงานกระทันหัน เพื่อให้เรายังมีเงินใช้จ่ายในระหว่างที่หางานใหม่

3. สร้างงบการเงินของตัวเอง

เราต้องรู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า เรามีภาระอะไรต้องจ่าย และสามารถที่จะเก็บออมได้เท่าไหร่ของรายได้ จากนั้นเราก็แบ่งสัดส่วนเงินออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ โดยใช้สูตร 50-30-20 (50% ใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่จำเป็น

ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนงวดรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าอยู่ค่ากิน 30% ไว้ใช้สำหรับสิ่งที่เราอยากได้ และอีก 20% ให้เก็บออมไว้) ควรแบ่งเงินตั้งแต่วันที่เงินเดือนออก เพราะคนส่วนใหญ่มักจะออมเงินหลังจากใช้จ่ายไปหมดแล้ว สุดท้ายก็ไม่เหลือเงินให้ออม

4. ทยอยปลดหนี้ให้หมด

หากใครที่ยังมีหนี้สินอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ค่างวดรถ ค่า บั ต ร เ ค ร ดิ ต หรือผ่อน 0% ของสินค้าต่างๆ ต้องแบ่งเงินให้ดีและทยอยปิดไปทีละยอดให้หมด เพราะถ้าหากเรายังมีหนี้สิน

ก็ยากที่จะมีเงินไปต่อยอด แถมยังต้องมากังวลกับเจ้าหรี้อีก ดังนั้นควรจัดลำดับการปลดหนี้ โดยเริ่มจากเจ้าหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง แล้วไล่ไปก้อนอื่นๆตามลำดับจนครบทุกก้อน

5. วางแผนเกษียณ

ยิ่งเราสามารถวางแผนการเกษียณได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับตัวเราได้เร็วเท่านั้น หลายคนมักจะใช้ชีวิตไปแบบวันต่อวัน หรือเดือนชนเดือนจนเคยชิน จนลืมที่จะนึกถึงการเกษ๊ยณของตัวเอง

ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องรีบวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆตอนอายุยังน้อย เพราะเราก็จะได้มีเวลาเก็บเงิน และหาหนทางในการทำเงิน เพื่อไปถึงเป้าหมายของตัวเองได้เร็วยิ่งขึ้น ถ้ายิ่งคิดได้ช้า เราก็จะยิ่งต้องเหนื่อยมากขึ้นกับช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามาทุกที

6. ศึกษาเรื่องภาษี

การจ่ายภาษี ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องศึกษาและเรียนรู้ไว้ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็น การลดหย่อนภาษี การละเว้นภาษี รวมถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี

เพราะยิ่งมีรายได้มาก ภาษีที่ต้องจ่ายก็ยิ่งมากตามไปด้วย หากเรามีความรู้ในด้านนี้ เราก็จะได้ทำให้ถูกต้องตามกฏหมาย และให้เกิดประโยชน์กับตัวเราได้มากที่สุด

ที่มา : b i t c o r e t e c h

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…