Home ข้อคิดสอนใจ เทคนิค 5 ข้อ พูดให้คนอื่นเชื่อถือ

เทคนิค 5 ข้อ พูดให้คนอื่นเชื่อถือ

2 second read
0
0
84

ความน่าเชื่อถือของผู้พูดคือส่วนสำคัญ สำคัญขนาดที่ว่าหากคุณไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเชื่อได้ก็ควร

“หยุดพูด” ไปซะ ซึ่งในกรณีนี้เราคงไม่ต้องพูดถึงการพูดโน้มน้าวใจคนฟังให้เสียเวลา

“ความน่าเชื่อ ก็เหมือนกับความงาม ขึ้นอยู่กับสายตาผู้มอง”

วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด

1. เชื่อในตัวผู้ฟัง ชอบและให้เกียรติพวกเขา

คุณอาจจะไม่เห็นด้วยกับพวกเขาและอยากจะเปลี่ยนความคิด

ความรู้สึกหรือปฏิกิริยาเหล่านั้น แต่เราอยากบอกคุณว่าหากคุณไม่แคร์คนฟัง ก็จงอย่าพูดให้พวกเขาฟังตั้งแต่แรก

2. ต้องการให้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง

ให้คิดว่าการพูดหรือการนำเสนอของคุณคือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง

แสดงให้พวกเข้าเห็นว่าไอเดียของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ความคิดริเริ่ม

การเสนอแนวคิด โปรเจ็ค สินค้า หรือ บริการ จะช่วยพวกเขาในการแก้ไขปัญหา

หรือประสบความสำเร็จตามเป้าหมายสำคัญที่พวกเขาวางเอาไว้ได้

3. มองเห็นคุณค่าในสิ่งที่สอดคล้องกับผู้ฟัง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการเปลี่ยนความคิดของผู้ฟัง

เริ่มจากพยายามหาสิ่งที่คนฟังต้องการให้เจอจากนั้นแสดงให้พวกเขา

เห็นถึงคุณค่าถึงสิ่งที่คุณต้องการให้เห็น – สิ่งที่คุณต้องการเปลี่ยนให้พวกเขาเห็นตาม

(คุณอาจใช้วิธีการพูดตรงๆไปเลยว่าสิ่งที่พวกเขาเชื่อมันเหลวไหลสิ้นดีและโคตรจะผิด

ซึ่งคนฟังก็อาจจะมองว่าคุณแม่มโคตรตรง แต่วิธีการแบบนี้

ก็อาจจะไม่ได้ทำให้คนฟังเชื่อตาม หรืออาจไม่เชื่อเลย สักท่าไหร่)

4. พูดอ้างอิงในสิ่งที่ผู้ฟังเห็นว่าน่าเชื่อถือ

ข้อเท็จจริงและบุคลลอ้างอิง (ที่น่าเคารพนับถือ) ตารางและกราฟ

เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงและคำนิยามจากบุคคลต่างๆ

สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในระดับที่แตกต่างกันออกไปต่อผู้ฟัง

หลักฐานที่สร้างความน่าเชื่อได้มากต่อผู้คนคนหนึ่งอาจสร้างความเคลือบแคลง

สงสัยให้กับผู้ฟังอีกคน ดังนั้นสิ่งที่คุณจะยกมาอ้างอิงจึงควรสัมพันธ์กับระดับคสามรู้

อายุ และลักษณะของกลุ่มของผู้ฟัง ซึ่งคุณควรมีการประเมินก่อนทำการพูด (audience survey)

5. จงทำตัวเป็นศูนย์กลางของสิ่งที่คุณพูด

เพราะตัวคุณคือสิ่งที่คุณพูด ทุกอย่างของคุณ (ลักษณะ ความรู้ ประสบการณ์ คุณค่าที่แสดงออกมา)

และวิธีการที่คุณใช้นำเสนอตัวเอง (น้ำเสียง ท่าทาง สีหน้า)

จะเป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณ

แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเป็นไปในทางเดียวกันกับสิ่งที่คุณพูด

ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง

1.ความน่าเชื่อถือส่วนบุคคล

คุณเป็นเชื่อถือได้ ซื่อสัตย์และจริงใจหรือไม่? เป็นคนทำตามคำพูดของตัวเองรึเปล่า

เรียกง่ายๆว่าเป็นคนมีเครดิตพอให้เชื่อถือนั้นเอง

คนน่าเชื่อถือกับคนที่เป็นที่ชื่อชอบของคนอื่น ถือเป็นของคู่กันแม้จะไม่ใช่อย่างเดียวกัน

เพราะทั้งสองอย่างมักจะเกี่ยวโยงกันในความคิดของผู้คน

หากพวกเขาไม่ชอบคุณก็จะพยายามหาเหตุผลที่จะไม่เชื่อ

แต่หากพวกเขาชอบคุณ มันก็เป็นเรื่องง่ายที่พวกเขาจะยอมเชื่อคุณ

2. ประสบการณ์ของคุณ

ข้อนี้จะใช้วัดว่า คุณรู้ในสิ่งที่กำลังพูดอยู่หรือไม่? ประสบการณ์ ความรู้

และมุมมองต่อสิ่งคุณนำเสนอมีความถูกต้องแม่นยำพอให้เชื่อ

และที่สำคัญที่สุดคือคุณนำเสนอตัวเองและความคิดของคุณได้น่าเชื่อถือเพียงใด

3. การตัดสินจากผู้ฟัง

การให้คุณค่าจากผู้ฟัง ความชอบ-ไม่ชอบส่วนตัวของผู้ฟัง ความรู้

ประสบการณ์และเจตคติของพวกเขา คือ ปัจจัยที่จะใช้ตัดสินว่าความน่าเชื่อถือของคุณ

มีมากหรือน้อยในสายตาของผู้ฟัง ดังนั้นความน่าเชื่อถือของคุณต่อผู้ฟังคนใด

คนหนึ่งอาจเป็นอะไรที่น่าเชื่อถือและสุดยอดเอามากๆกับผู้ฟังอีกคน…และนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก

ที่มา : christopherwitt

Load More Related Articles
Load More By adminjing
Load More In ข้อคิดสอนใจ

Check Also

8 วิธีทำให้คนนับถือคุณ หลักๆ อยู่ที่การวางตัว

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงาน แต่พวกเราทุกคนต่างต้องอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทุ…