
ปัจจุบัน “โ ร คไม่รู้จักความลำบาก” เกิดกับเด็กยุคใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่เติบโตในเมืองที่พ่อแม่ค่อนข้างมีฐานะ ซึ่งส่วนใหญ่มักเลี้ยงให้ลูกสบาย
เพราะไม่อย ากให้ลูกเจอความลำบากแบบที่ตนเองเคยเจอมาก่อน จึงสนับสนุนลูกด้วยวัตถุ เงินทอง ทำให้เด็กกลายเป็นคนขาดความอดทน
อ่อนแอช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ แก้ไขปัญหาไม่เป็น และดูแลรับผิดชอบตัวเองไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กเมื่อโตขึ้นและอาจกลายเป็นภาระของสังคม
ดังนั้นหากไม่อย ากเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน” คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกได้รู้จักกับความลำบาก ฝึกให้ลูกมีหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือพย าย ามช่วยเหลือตัวเองได้ตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อที่เขาจะสามารถพัฒนาตนเองและเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
1. ไม่เลี้ยงลูกด้วยวัตถุ
คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักพอเพียง และไม่ตามใจลูกจนเคยตัว ถ้าสิ่งไหนที่เกินความจำเป็นก็ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าทำไมถึงให้ไม่ได้ เช่น “ลูกมีของเล่นที่เหมือนกันอยู่แล้ว” หรือ “ชุดเก่าที่มียังสวยอยู่เลยลูก” ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี โดยไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือยให้ลูกเห็นด้วยเช่นกัน
2. ฝึกความอดทนให้ลูก
ส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความอดทน เช่น เดินทางไกล ปลูกต้นไม้ เล่นหมากกระดาน และอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เขาได้เรียนรู้การเผชิญอุปสรรค
ให้เขาได้มีความเข้าใจว่าบางสิ่งบางอย่างไม่ได้หามาได้ง่าย ๆ ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีความอดทนที่จะสอนลูก และพูดคุยด้วยเหตุผลกับลูกด้วยความใจเย็นเช่นกัน
3. อย่ากลัวลูกลำบาก
คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักทำงาน ฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเอง และได้ทำอะไรเพื่อแบ่งเบาภาระของคุณพ่อคุณแม่บ้ าง เช่น สอนให้รู้จักเก็บของเล่นด้วยตนเอง
สอนให้เก็บจาน สอนให้รู้จักจัดหนังสือเรียน ช่วยงานบ้ าน โดยให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ความลำบาก รู้จักความพย าย ามในการทำให้งานต่าง ๆ เสร็จลุล่วงไปได้ด้วยตนเอง
4. อย่าปกป้องลูกมากเกินไป
ควรให้ลูกออกไปเจอสิ่งต่าง ๆ ให้เขาได้เรียนรู้โลกภายนอก และได้รู้จักการเข้าสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้เขาพบเจอผู้คนที่หลากหลาย จะได้รู้จักแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนดีกับคนไม่ดี ฝึกสังเกตและได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยให้คำแนะนำ
5. ไม่ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงลูก
การให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ตั้งแต่ยังเล็กนั้น นอกจากจะไม่ดีต่อพัฒนาการทางส ม อ งแล้ว ยังส่งผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กด้วย เพราะสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความรวดเร็วฉับไว เมื่อเด็กใช้งานบ่อย ๆ
จะทำให้เด็กติดนิสัยเอาแต่ใจ อย ากได้อะไรก็ต้องได้ ต้องการความรวดเร็ว ทำให้ไม่รู้จักการรอคอย ใจร้อนและสมาธิสั้น ดังนั้นเด็กทารกจนถึงวัย 2 ปี
ไม่ควรหยิบจับอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ ควรให้เริ่มเล่นได้เมื่อเด็กอายุ 3 – 5 ปี และให้เล่นได้วันละไม่เกิน 1 ชั่ วโมง และในวัยที่โตกว่านั้นจนถึงอายุ 18 ปี ควรเล่นแค่วันละ 2 ชั่ วโมง
ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกรู้จักกับความลำบากบ้ าง ฝึกลูกให้มีความรับผิดชอบ และเปิดโอกาสให้เขาเรียนรู้โลกภายนอกบ้ าง ก็เท่ากับเป็นการปลูกฝังให้ลูกรู้จักพื้นฐานความเป็นจริงของชีวิต มีภูมิคุ้มกันที่ดี เมื่อเขาเติบโตขึ้นก็สามารถเรียนรู้และพร้อมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ที่มา : t r u e p l o o k p a n y a