
1. ควบคุมอารมณ์ให้เป็น
ไม่ว่าเราจะเป็นคนอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย หรือขี้โมโหขนาดไหน
แต่สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากความเป็นเด็กคือ วุฒิภาวะนั่นเอง
จริงอยู่การได้ระบายอารมณ์ อาจจะเป็นทางออกที่ช่วยผ่อนคลายสภาวะจิตใจก็จริง
แต่เมื่ออยากเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องควบคุมตัวเองให้ได้มากขึ้น
เพราะหากเป็นผู้ใหญ่จริงที่ต้องเผชิญกับชีวิตในหลาย ๆ ด้านนั้น
ใครคุมอารมณ์ได้ดีกว่าก็จะกุมความได้เปรียบได้มากกว่าเช่นกัน เพราะในบางสถานการณ์นั้น
การแสดงออกบางอย่าง อาจจะทำให้เรื่องราว เ ล ว ร้ า ย ลงไปกว่าเก่า
และนั่นก็เพียงพอที่เราจะถูกตัดสินว่ายังไม่โตพอ
2. จริงจังกับความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
การซื่อตรงต่อความคิดและความรู้สึกของตัวเราเองนั้น เป็นเรื่องสำคัญ
หากเรามีความเชื่อความศรัทธาต่อสิ่งใด และมุ่งมั่นทำในสิ่งนั้นอย่างจริงจัง
จะทำให้คนอื่นมองเห็นเราเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว
เช่น การทำงานที่เราเชื่อว่าแนวคิดแบบนี้ดี หรือความคิดแบบนี้ถูกต้อง
ก็ต้องทำจนพิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นเรื่องจริง แต่ก็ไม่ได้หมายถึงความดื้อดึงนะ
เพราะทุกอย่างต้องวางอยู่บนหลักการและเหตุผลที่เหมาะสมด้วย ซึ่งอาจจะรวมทั้งงานอื่น ๆ
เช่น งานอดิเรกที่คิดแล้วลงมือทำ ตั้งใจทำอย่างดีที่สุด หากผลออกมาดี เราก็จะนับถือตัวเราเองมากยิ่งขึ้น
3. รู้จักให้เกียรติผู้อื่น
ในสังคมที่เราต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การรับฟัง หรือการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้น
มีความสำคัญที่จะบ่งบอกได้เลยว่า เราโตพอหรือเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นแล้ว
แต่หากเรายังเป็นคนที่ไม่ยอมรับฟัง หรือทำอะไรตามใจตัวเอง
โดยไม่คิดถึงความรู้สึกของคนรอบข้าง ชอบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกเรื่องราว
ก็จะทำให้คนอื่นมองเราเหมือนเป็นคนมีความคิดแบบเด็ก ๆ ความคิดไม่โตพอ
หรือหนักเข้าจะมองว่า เราเป็นคนที่ไม่ยอมรับเหตุผลและไม่ให้เกียรติคนอื่น
4. ยืดอกยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
คำกล่าวว่าพลังอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่นั้น เป็นเรื่องจริงที่สุด
เพราะในชีวิตเรายังต้องพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคอีกหลาย ๆ อย่าง การตัดสินใจของเรา
อาจจะไม่ใช่เรื่องถูกต้องเสมอไป แต่นั่นก็ไม่เท่ากับกับ
การกล้ายอมรับผลของการตัดสินใจ ไม่ว่าจะออกมาถูกหรือผิด
หากคิดถูกก็ภูมิใจกับมัน หากคิดผิดก็ยืดอกยอมรับ และกล่าวคำขอโทษอย่างกล้าหาญ
การยอมรับทุกคำพูด และการกระทำของตัวเราเองอย่างจริงใจนี่แหละ
เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นผู้ใหญ่อย่างชัดเจนมากที่สุด
5. รู้จักประมาณตนเอง
เมื่อเราวางแผนผังชีวิตได้แล้ว การเดินตามเส้นทางจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องทำ
แน่นอนว่าระหว่างทางอาจจะต้องพบเจออะไรมากมายไปหมด
ที่อาจจะเข้ามาเบี่ยงเบนเป้าหมายหลักของเรา
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่จะมาเป็นตัวชี้วัดความเป็นผู้ใหญ่ที่มากพอของเราได้นั้นก็คือ
การรู้จักประมาณตนเอง การรู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะต่อการกระทำต่าง ๆ
การรู้กำลังของตัวเราเองว่า ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้มากแค่ไหน
เพราะหากเราประมาณตัวเองได้ เราก็จะควบคุมแผนงานทั้งหมดได้ง่ายมากขึ้น
ยกตัวอย่างใกล้ตัวเรื่องค่าใช้จ่าย หากเรารู้ตัวว่าควรจะใช้จ่ายเท่าไหร่ต่อเดือน
สิ่งไหนจำเป็น สิ่งไหนฟุ่มเฟือย สิ่งไหนจ่ายก่อน จ่ายหลัง
และสิ่งไหนไม่ควรจ่าย นั่นเท่ากับว่าเรามีความเป็นผู้ใหญ่ในตัวขึ้นมากแล้วจริง ๆ
6. พูดคุยให้รอบด้าน
บางครั้งการพูดคุยเฉพาะเรื่องที่เราสนใจเท่านั้น อาจจะทำให้เรากลายเป็นคนมีวิสัยทัศน์คับแคบไปเลย
หรืออาจจะถูกมองว่าไม่เป็นผู้ใหญ่ เพราะมีความรู้ไม่รอบด้าน การเลือกเรื่องที่จะคุย
เช่น ข่าว ส า ร บ้านเมือง ความรู้ เทคโนโลยี ประสบการณ์ต่าง ๆ จะทำให้เราดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
การพุดคุยเรื่องต่าง ๆ ที่ว่ามานั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้ ขอเพียงเป็นผู้สนทนาที่ดี
วางตัวให้ดี หากสนใจก็ควรซักถาม ซึ่งก็จะรวมถึงการวางตัวให้เหมาะกับกลุ่มสนทนาด้วย
เพราะไม่จำเป็นที่เราต้องคุยกับคนแนวเดียวกัน ชอบเรื่องเดียวกัน
หรือมีวัยใกล้เคียงกันเสมอไป และที่สำคัญไม่ว่าเราจะพูดคุยกับใคร
การใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง เป็นเรื่องจำเป็นมากที่สุด
7. หลีกเลี่ยงการนินทาว่า ร้ า ย หรือพูดลับหลัง
หากเราต้องการเป็นที่เคารพนับถือทั้งต่อหน้าและลับหลัง ต้องหลีกเลี่ยงการจับกลุ่มนินทา
พูดถึงหรือกล่าวหาคนอื่นในทางลับหลังด้วยเช่นเดียวกัน เพราะหากคน ๆ นั้นรู้เข้าทีหลัง
ก็จะเสื่อมศรัทธาในตัวเรา และถึงไม่รู้ก็ตาม เราอาจจะสูญเสียความนับถือ
ตัวเองได้เหมือนกัน ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ส่งผลเสียอยู่ดี
การจะมีความคิดเป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั้น ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เข้าใจความรู้สึกคนอื่น
หากมีปัญหาที่ต้องพูดคุยหรือว่ากล่าวตักเตือนกัน การพูดตรง ๆ
ต่อหน้าจะช่วยสร้างความเคารพนับถือได้มากกว่าแน่นอน แต่การพูดตรง ๆ นั้นก็ควรเป็นการพูดที่รักษาน้ำใจ
8. มีน้ำใจต่อทุกคน
ว่ากันว่า ความคิดที่ดี มาจากการกระทำที่ดี และการที่จะมีความคิดเป็นผู้ใหญ่ที่ทุกคนให้การยอมรับ
ก็ต้องไม่ลืมการมีน้ำใจที่มอบให้ต่อคนทุกคนเช่นกัน จำไว้เลยว่า การที่มีคนเคารพยกย่องนั้น
ไม่ได้หมายถึงจะคอยเป็นผู้รับอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวเป็นผู้ให้
หรือเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จะยิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ใหญ่ที่ดี
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใครมีปัญหาเราก็อาจจะเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำ
ช่วยหยิบของให้เมื่อใช้งานร่วมกัน หรือกล่าวคำชมเมื่อใครทำอะไรให้เรา
การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักนี่แหละ ที่จะบ่งบอกวุฒิภาวะของเรา
9. วางเป้าหมายอย่างมีแบบแผน
การวาดแผนผังอนาคตที่ชัดเจน จะทำให้เรามีความคิดมุ่งมั่นไปข้างหน้า
และเป็นอีก 1 องค์ประกอบ ที่บอกได้ว่าเราเป็นผู้ใหญ่ชัดเจนมากขึ้น
เพราะการกำหนดเส้นทางของชีวิต ทำให้เราเลือกที่จะเดินอยู่บนเส้นทางอย่างแน่วแน่
มีเป้าหมาย จะทำให้เรารู้ศักยภาพของตัวเรา กล้าที่จะประเมินตัวเองตลอดเวลา
ทำให้เป็นคนรู้ผิด-รู้ถูก รับผิดชอบและทำงานทางความคิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อคิดอย่างเป็นระบบนั่นเอง
10. ทัศนคติที่ดี มีความยืดหยุ่น
หากตอนเป็นเด็กมีแต่ความดื้อดึงอยากเอาชนะ แต่เมื่อมีความคิดที่โตขึ้น
ก็ต้องรู้จักปรับตัวให้ได้กับทุกสถานการณ์ แผนงานทุกอย่างต้องสามารถยอมรับปรับเปลี่ยนได้
รวมทั้งทัศนคติและความคิดที่ต้องไม่ตึงจนเกินไป แม้ว่าการวางแผนจะเป็นเรื่องสำคัญ
แต่การมีความยืดหยุ่น สามารถปรับแผนได้นั้นสำคัญยิ่งกว่า
ที่มา : f a i t h a n d b a c o n